Leadership

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 1 :  โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ ป้อมค่ายทางเศรษฐกิจและการเมืองได้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ฟากหนึ่งเป็นโลกทุนนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เอื้อย ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นโลกสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวลานั้นสามารถจำแนกมิตรและศัตรูกันได้ชัดเจน ถึงแม้จะมีกลุ่มไม่ฝักฝ่ายค่ายใดอยู่ประมาณ 30 ประเทศที่ขออยู่ตรงกลางไม่เป็นพวกใครเต็มตัวเป็นเกาะเล็กๆ ท่ามกลางทะเลแห่งการต่อสู้อย่างดุเดือดทางอุดมการณ์สองลัทธิ การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จะไม่ลดละให้แก่ฝ่ายใดสักนิ้วเดียว สองอภิมหาอำนาจไม่ยอมให้มีการเพลี่ยงพล้ำดุลแห่งกำลังเป็นอันขาด เพราะการไม่คานกำลังกันโดยเฉพาะด้านกำลังอาวุธมันจะกลายเป็นการคุกคามความมั่นคงของแต่ละอภิมหาอำนาจ พูดง่ายๆ เมื่อตาชั่งแห่งแสนยานุภาพทางทหาร เอียงไปข้างใดเกินไป โลกจะไม่มั่นคงทันที ในห้วงเวลาตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2533 แม้จะมีสงครามตัวแทนและสงครามเพื่อเอกราชประชาธิปไตยในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่โลกก็ยังมีเสถียรภาพอยู่ เพราะแต่ละอภิมหาอำนาจรู้ดีว่า “เส้นแบ่งเสถียรภาพ” นั้นอยู่ตรงจุดใด และไม่ควรล้ำเส้นนี้ออกไป มันเป็นโลกที่ดูเหมือนอันตราย แต่แก่นแท้แล้วมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะมันตรรกะที่ชัดเจน มองเห็น “เส้น” ชัดเจนแต่ละฝ่ายสามารถคำนวณและหยั่งเชิงกันได้ ไม่ให้ “ออกนอกกรอบ” แห่งดุลกำลัง ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าตนเองต้องเล่นตามกฎและกติกา เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ ความไม่เข้าใจกันหรือความเข้าใจผิดเล็กน้อย (ดังกรณีคิวบาในปี 2505 เกิดขึ้นอีก) มาทำให้เรื่องบานปลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งพินาศย่อยยับกันทั้งคู่ มันเป็นโลกที่มีความชัดเจน และ “เป็นระเบียบ” การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินเมื่อเดือนพฤศจิกายน […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 1 :  โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง Read More »

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่

โดย : ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นักวิชาการหลายคนที่สนใจเรื่องระบบซับซ้อน (complex system) ได้แบ่งประเภทของความซับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจว่า มันมีด้วยกัน 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความซับซ้อนที่มีพลวัต (dynamic complexity) ความซับซ้อนทางสังคม (social complexity) และความซับซ้อนที่บานปลาย (generative complexity)  ถ้าระบบใดที่ความซับซ้อนยังมีดีกรีต่ำ การแก้ปัญหาแบบวิธีเดิม ก็พอจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าระบบใดที่มีความซับซ้อนสูงจนถึงขั้นสูงยิ่ง วิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว เช่น วิธีการ “สั่งการและควบคุม” (command and control) จะไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะระบบที่มีความซับซ้อนสูงจะไม่ทำงานดุจดังเครื่องจักร ที่เดินไปเป็นเส้นตรง   และยิ่งความซับซ้อนทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ระบบมันจะเดินไม่ปกติ มันจะคดเคี้ยวพลิกผันได้ง่าย สถานการณ์และพฤติกรรมของระบบจะขึ้นๆ ลงๆ มีทิศทางที่คาดเดายาก ระบบใดก็ตามเมื่อเข้ามาอยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเปราะบาง กระทบง่าย เรื่องเล็กๆ สามารถส่งผลกระทบปฏิกิริยาลูกโซ่ และมีการป้อนกลับกันไปมาเชิงยกกำลัง (reinforcing feedback) จนบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือบางคนเรียกว่าทฤษฎีโกลาหล (chaos

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่ Read More »