ประชาสังคม

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

“เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ผมเพิ่งได้หนังสือเล่มใหม่ “เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary by John Clubbe) ตนเองเป็นคนชอบฟังเพลงของเบโธเฟน มากกว่านักประพันธ์เพลงคนอื่นใด โดยเฉพาะเพลงซิมโฟนี่หมายเลข 5  ผมชอบที่สุดฟังไม่เคยเบื่อ  บางครั้งก็เอาบางท่อนของเพลงยาวราว  7-8  นาที  มาเปิดให้ฟัง ตอนเช้าในกระบวนการ  เช็คอินในฝึกอบรม  เสียงกระแทกกระทั้นของเปียโน   “โชคชะตากำลังมาเคาะประตูบ้าน เราแล้ว”… แท่น แท่น แท้น แท้น… เบโธเฟน เกิดเดือนธันวาคม ค.ศ. 1770 ขณะที่นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิด เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1769 อ่อน กว่า1ปี  ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน ชีวิตผู้เขย่าโลกทั้งสองคนนี้ ได้ลืมตาดูโลกหลังการก่อกำเนิด ยุค Renaissance หรือ ยุคศิลปวิทยาการ 200 ปี. สายใยวิถีคิดของนักปรัชญา กระแส การเมือง สังคม […]

“เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary) Read More »

ทฤษฎีไร้ระเบียบ

เมื่อโลกไร้ระเบียบ และ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

ที่มา : นิตยสาร Esquire May 2008 Text : Wilairat Photo : Suwat …   เรื่องมันมีอยู่ว่า บังเอิญมีคนเอา กล่องมาม่าใส่เงินจำนวนมากมาวางไว้หน้าห้องเลขที่ 66 ซึ่งบังเอิญว่า เลข 6 ตัวหลังหลุดห้อยลงมากลาย เป็นเลข 9    หญิงสาวในห้องเลขที่ 66ซึ่งบังเอิญว่าตกงานและไม่มีเงินเลยเอาเงินในกล่องนั้นมาเก็บไว้โดยหารู้ไม่ว่า กล่องมาม่านั้นบังเอิญเป็นกล่องเงินของแก๊งค์มิจฉาชีพ ต่อจากนันก็เกิดการตามล่าหากล่องเงินอย่างดุเดือดเลือดพล่าน จนมีคนตายเพราะเรื่องนี้หลายรายอย่างไม่น่าเชื่อ…     อีกเรื่องมันมีอยู่ว่า ชายคนหนึ่งพบว่ามีสุนัขของเพื่อนบ้านมาไล่กัดเป็ดในฟาร์มตัวเองจนเป็ดตายไปหลายตัว เลยบันดาลโทสะ คว้าปืนเดินตรงไปเอาเรื่องกับเจ้าของสุนัข แต่ตกลงกันไม่ได้ เลยเอาปืนยิงเจ้าของสุนัขจนตายตามเป็ดของตัวเองไป… เรื่องแรกจากภาพยนตร์เรื่อง “เรื่องตลก 69” โดยผู้กำกับฯ เป็นเอก รัตนเรือง    เรื่องที่สอง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2551     เรื่องจริงและแต่งทั้งสองเรื่อง ล้วนเกิดมาจากเรื่องเล็กๆ

เมื่อโลกไร้ระเบียบ และ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว Read More »

ความฝันยามใกล้รุ่ง (dream scenario)

ความฝันยามใกล้รุ่ง ( Dream )

ความฝันยามใกล้รุ่ง (dream scenario)  วันหนึ่งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 เราเดินทางกับอาจารย์ชัยวัฒน์ไปร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะเพื่อความยั่งยืนที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่  ระหว่างนั่งพักสบาย ๆ ยามเช้า ทานอาหาร อาจารย์เล่าถึงความฝันช่วงหัวรุ่ง ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนหน้า https://youtu.be/hiZK4vrYfI4 อาจารย์ชัยวัฒน์เป็นนักฝัน … ฝันใฝ่สร้างสังคมที่ดีงาม  แต่ความฝันในยามหลับ (dream scenario) ของอาจารย์ชัยวัฒน์ ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยได้ยินจากอาจารย์  เราจึงฟังด้วยความตั้งใจ  ความฝันยามใกล้รุ่ง ของอาจารย์ทำเอาขนหัวลุก  ฝันลางบอกเหตุ หรือการอ่านแนวโน้ม  ไม่ว่าจะเป็นอะไร สิ่งที่เราว่าสำคัญและน่าสนใจ (ทำให้เราบันทึกคลิปนี้)    คือการวางใจ มุมมอง วิธีคิดของอาจารย์ที่มีต่อความฝันนั้น  เราว่ามันมีความหมายและเป็นประโยชน์  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  เราวางใจอย่างไรในห้วงวิกฤต  ศักยภาพอะไรที่จะพาเราฝ่าวิกฤต  ในวิกฤตมีโอกาสอะไร และเราจะใช้มันอย่างไร  ลองฟังคลิปสนทนากับอาจารย์ชัยวัฒน์เรื่องความฝันยามใกล้รุ่ง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ชัยวัฒน์  เรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ 

ความฝันยามใกล้รุ่ง ( Dream ) Read More »

Aikido is philosophy in action

ฝึกไอคิโด้ แท้จริงแล้ว เป็น experiential learning หรือ learning by doing ดังเช่น อาชีพ ช่างไม้ อาชีพทำอาหารเป็น chef คือ ต้องมีทั้ง understanding philosophy and skills ( เทคนิค ทำเป็น จนเชี่ยวชาญ) เรียกได้ว่าเป็น Aikido is philosophy in action https://youtu.be/dDvjvFYAikM Aikido is philosophy in action  มันเป็นเรื่องมี awareness , focus and concentration of force alignment หลอมรวมหยิน/หยาง Learning Process (Aikido is philosophy in action) 1) ครูผู้สอน หรือ Sensei เรียก คู่ต่อสู้ มาสาธิต ทำให้ดู ก่อน 3/4 ครั้ง 2) อธิบายซ้ำ ให้เห็นทำให้ดูช้าๆ ประกอบ 3) ให้ผู้เรียนจับคู่ ฝึก ผลัดกัน 2/3 นาที

Aikido is philosophy in action Read More »

หนังสือน่าอ่านสำหรับผู้นำองค์กร

Belonging to the Universe 

บันทึกเมื่อ ตุลาคม 2566 หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ 1992 ซื้อมา 21 ปีแล้ว นำกลับมาอ่านใหม่ ทำให้ตระหนักว่า เมื่อก่อนนี้ เรามองหลายอย่างหยาบไป จิตละเอียดอ่อนไม่พอ เป็นหนังสือของ 3 ปราชญ์ dialogue กัน -Fritjof Capra พวกเรารู้จักกันดึ จากTao of Physics  -Brother David Steindl-Rast เป็นพระนิกาย Benedictine -Thomas Matus พระคาโธลิก  การสนทนาพยายามเชื่อมวิทยาศาสตร์กับศาสนา(คริสต์) เข้าด้วยกันจากมุมมองของนักฟิสิกส์และเทววิทยา หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ใน 5 หน้านี้ อันเป็นการเปรียบเทียบ กระบวนทัศน์เก่า และกระบวนทัศน์ใหม่  ทั้งในวิทยาศาสตร์ และ เทววิทยา สำหรับตนเอง เอากระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการเอามาใช้ กับ Systems Thinking พูดง่าย แต่ฝึกให้ ติดเนื้อติดตัว ต้อง ฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ละทิ้ง

Belonging to the Universe  Read More »

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร”

หนังสือ 2 เล่มนี้ สำหรับผม คือ “กัลยาณมิตร” 2 คน   “กัลยาณมิตร” แรก Who do we choose to be? “คุณเลือกเอาว่าจะเป็นใคร”? เป็นการกระตุ้นท้าทายการภาวนาลุ่มลึกของการค้นหา meaning of life (ความหมายของชีวิต) ของวิคเตอร์ แฟรงเกิล Viktor Frankl อันจะนำไปสู่การเข้าถึงศักยภาพสูงสุดในตนเอง (self actualization) ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมลำดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)  “กัลยาณมิตร” ถัดมา คือ The Tao of Powerในเล่มเกริ่นเรื่องตัวเราต้องเป็น Evolving Force เป็นการเอา เต๋ามาใช้กับชีวิต 4 มิติ 4 ระดับนั่นเอง ดังนั้นความเป็น มนุษย์ที่เราเลือก คือ การเดินทางเผชิญหน้ากับความท้าทายกับ VUCA and BANI World ขณะเดียวกับเดินทางพัฒนาภายใน หลายคนเรียกว่า IDG ( Inner Development Goal) นั่นเอง  พระกฤษณะสอนอรชุนว่า  Who Do You Choose to Be?  Small Self… หรือจะเลือก..  Higher Self, Bigger

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร” Read More »

Identity

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ – Identity ของตัวเรา

Who Am I? ผมจำได้ ว่ากลางปี 2511 ผมได้กลับมาเยี่ยมบ้าน จ.นครศรีธรรมราช หลังจากไป เรียนที่เยอรมันได้ 5 ปี ค่ำวันหนึ่งที่อำเภอทุ่งสง ไม่ไกลจากบ้านน้าชายที่ผมไปพัก มีคนจัดงานบุญแล้วจ้างหนังตะลุง มาเล่นเพื่อความบันเทิง.. แค่เสียงกลอง โหม่ง กรับ อันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีตะลุง ผมยืนฟัง ด้วยน้ำตาคลอเบ้า รู้สึกถึงแรงสะเทือนในหัวใจ บอกกับตนเอง“ นี่คือบ้านของเรา แผ่นดินของเรา” Sense of Belonging เป็นความผูกพัน ให้ความอบอุ่นหัวใจ ให้ความหมายกับชีวิต แต่น้อยคนจะ เข้าใจ เข้าถึงแล้วเอามาพัฒนาให้เป็นมรดกสืบต่อไป  ผมตระหนักชัดเรื่องคุณค่าของประวัติศาสตร์ รัก เคารพต่อประวัติศาสตร์ทุกท้องถิ่นไทย เพราะนี่ คือ สยามคือบ้านของเรา ฝรั่งหลายคนที่ได้เกิดที่สยาม ถือว่า สยามคือบ้านของเขาด้วย เกอเธ่ กล่าว“ สิ่งที่ล้ำค้าอันได้มาจากประวัติศาสตร์ คือ ความฮึกเหิมที่ปลุกเร้าใจ เรา” มันจะนำไปสู่ spiritual connection (ความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ)  และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราควรภาวนาก่อนทำงานใหญ่ เสมือนเราทำการภาวนาก่อนเข้าสงคราม  แต่เป็น“สงครามกับความเขลา ขาดพลังปัญญา ขาดพลังความเพียร และไม่กล้าก้าวข้าม ขอบเขตเดิม” ภาวนา อย่างจริงใจ

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ – Identity ของตัวเรา Read More »

พระพุทธทาส

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ : สืบทอดปณิธานท่านพุทธทาส(จบ)

คัดจาก www.matichon.co.th. / บทความพิเศษ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ พระพุทธทาส กับ ทฤษฎีไร้ระเบียบ (ตอนจบ) เมื่อเราได้เดินทางสืบค้นภูมิปัญญาของท่าน ” พระพุทธทาส ” มาจนถึงบทนี้ เราจะพบว่า ท่าน พุทธทาส มี “อินทรีย์พิเศษ” ที่ทำให้ท่านมองได้อย่างแหลมคมและลึกซึ้งกว่าคนธรรมดาหลายสิบปี เนื่องจากท่านเดินบนเส้นทาง “พุทธมรรควิถี” อย่างแท้จริง ทำให้ท่านไม่จำเป็นจะต้องยึดมั่นถือมั่นดังที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น” เมื่อท่านไม่ยึดติดกับเปลือกท่านจึงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการที่จะสื่อสารให้คนธรรมดาสามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ตื่น ผู้รู้ และผู้เบิกบานได้ ท่านจึงสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาตร์ นำเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรืออัลเฟรด อาดเลอร์ (Alfred Adler) มา ทดลองใช้ในการสอนธรรมะได้ ท่าน พระพุทธทาส ยังคงให้ความสนใจเรื่องศิลปะและใช้งานศิลป์เป็นเครื่องมือในการแสดงธรรม ดังตัวอย่างที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” และได้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณขึ้นดังข้อความบางตอนที่ท่านได้เขียนจดหมายถึงสหายธรรมทาน “…อนึ่ง ขอวิงวอนผู้สนใจในการประกาศธรรมจงได้ร่วมมือกันสร้าง “โรงหนัง” แบบนี้ในลักษณะ ที่เหมาะแก่ท้องถิ่นของตัวกันขึ้นให้ทั่วหัวระแหงด้วยเถิด จะเป็น moral rearmament

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ : สืบทอดปณิธานท่านพุทธทาส(จบ) Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ

พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ   เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ “อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง” (The U : Language of Regeneration)  เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบันต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง “แบบใหม่” เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) “วิธีมองแบบใหม่” นี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร  ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้ อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ. 2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง “เขี้ยวของโลก” อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก “เขี้ยว” ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน  

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 4 : “พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

  จากการได้ติดตามอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวเตือนเรื่องโลกที่กำลังอันตรายจากการโยกโคลงและหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต ทำให้ผมอดถามตนเองไม่ได้ว่าท่านพุทธทาสสามารถมองเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เร็วกว่านักวิชาการตะวันตกถึง 30-40 ปีได้อย่างไร ? ท่านใช้หลักอะไร และวิธีการอะไร ในการมองทะลุ (insight) ทั้งๆ ที่สมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ คำว่าโลกาภิวัตน์ยังไม่ได้บัญญัติ แต่ท่านบอกว่าโลกกำลังอยู่ใน turmoil ท่านก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่าอันตรายใหญ่หลวงน่ากลัวต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านเตือนเรื่องการอยู่อย่างเท่าทันโลก ไม่ให้ถูก “เขี้ยวของโลก” ขบกัดได้ เสมือนลิ้นงูที่อยู่ในปากงูแต่ไม่ถูกเขี้ยวงูขบกัด   ถ้าจะเปรียบกับทฤษฎีไร้ระเบียบ ท่านพุทธทาสมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อระบบที่ห่างไกลจากจุดสมดุล (system far from equilibrium) ท่านรู้กฎของวิทยาศาสตร์แห่งความอนิจจัง (science of becoming) เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อท่านจับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขเบื้องต้น (initial condition) และเห็นการเชื่อมโยงป้อนกลับของปัจจัยต่างๆ ที่กระทำต่อกันและกัน ท่านจึงรู้เรื่อง “ผลกระทบผีเสื้อ” (butterfly effect) ที่เหตุเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่ได้   พูดง่ายๆ ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์แห่งความไร้ระเบียบอย่างดียิ่ง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพูดตัวทฤษฎี   ปริศนาที่ผมถามตัวผมเอง และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผมพอสรุปเป็นข้อมูลสมมติฐานว่าอัจฉริยภาพของท่านพุทธทาสในการเข้าใจแก่นของทฤษฎีไร้ระเบียบน่าจะมาจากการที่หลักการการคิดและวิธีการแสวงหาปัญญา ดังนี้  

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 4 : “พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ Read More »