การถอดบทเรียน

คำถามและการสืบค้น (Inquiry)

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry) 

ทำไมต้องมี คำถามและการสืบค้น (Inquiry) ทำไมต้องมี การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry) โลกเปลี่ยนแปลงเพราะคำถาม อย่างเจ้าชายสิทธัตถะถามว่า “ทำไมชีวิตเป็นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร” แล้วด้วยคำถามดังกล่าว ท่านทุ่มเทชีวิตแสวงหาคำตอบเป็นเวลา 6 ปี เอาชีวิตเข้าแลก  นักวิจัยรางวัลโนเบิลใช้เวลา 10-20 ปีกว่าจะได้คำตอบ และบางครั้งก็ต้องแลกด้วยชีวิต อย่างมาดาม คูรี่ พยายามเข้าใจเรื่องรังสี จนพบอานุภาพรังสีเอ๊กซ์เรย์ แต่สิ่งที่เธอต้องแลกกับการค้นพบ ก็คือ เธอได้รับรังสีนั้นมากและป่วยเป็นมะเร็ง เสียชีวิตในที่สุด  ไอน์สไตน์ ตั้งคำถามว่า “ถ้าฉันขี่ลำแสง แล้ววิ่งด้วยความเร็วของแสง จักรวาลจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร” คำถามนี้นำไปสู่คำตอบที่เรียบง่าย คือ E= MC2 ซึ่งเป็นสมการที่เปลี่ยนโลกจนถึงทุกวันนี้  กุญแจของการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถาม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งในโลกสมัยใหม่ ที่ซับซ้อน ถามเพื่อสืบค้นร่วมกัน ถามเพื่อเปิดประเด็นและการสนทนา งานวิจัยดี ๆ มาจากคำถามที่ดี ๆ งานวิจัยสุดยอดมาจากคำถามสุดยอด  ในชีวิตของเรา เคยมีคำถามอะไรบ้างไหม ในโครงการของเรา มีคำถามอะไรสำคัญๆ […]

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry)  Read More »

การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว

การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว

อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ มักกล่าวเสมอว่า หลังจากที่เราทำงานแล้ว เราเคยสรุปบทเรียนและเรียนรู้จากปฏิบัติการของเราหรือไม่ อย่างไร เราเรียนรู้อะไรจากการงานบ้าง (ที่เราหว่านลงไปแล้ว)  เคิร์ท ตูชอลสกี้ (Kurt Tucholsky) นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนเยอรมัน เชื้อสายยิว เคยกล่าวว่า “ประสบการณ์นะเหรอ…ไม่เห็นมีอะไร บางคนทำผิดซ้ำซากเป็น 20 ปี”  ทำไมต้องมี การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว   คนมีประสบการณ์มากมายอาจจะไม่ได้เรียนรู้อะไร ทำเรื่องเดิม ความผิดเดิมๆ ซ้ำซาก ดูตัวอย่างชาวนาไทย ที่ไม่อยากให้ลูกเป็นชาวนา เพราะตนเองอยู่กับความเจ็บปวด ยากจน ทุกข์มายาวนาน แต่ก็ยังอยู่กับทุกข์ที่เดิม แม้จะมีประสบการณ์ความทุกข์มายาวนานเป็นสิบๆ ปีก็ตาม เพราะเหตุใด ?    .. แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ส่วนมากก็เป็นเรื่องที่ชาวนาไม่ให้เวลาครุ่นคิดใคร่ครวญ ตั้งคำถามเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตน ประสบการณ์จึงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าไม่เรียนรู้  อาจารย์ชัยวัฒน์ย้ำ “เราไม่ได้เรียนจากประสบการณ์ แต่เรียนจากสมรรถนะในการมีประสบการณ์” เป็นคำพูดที่มี ผู้อ้างว่า มาจากพระพุทธองค์ (ภาษาอังกฤษใช้ว่า “We do

การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว Read More »