ความฝันยามใกล้รุ่ง

เรื่องโดย : กรรณจริยา สุขรุ่ง วันหนึ่งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 เราเดินทางกับอาจารย์ชัยวัฒน์ไปร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะเพื่อความยั่งยืนที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่  ระหว่างนั่งพักสบาย ๆ ยามเช้า ทานอาหาร อาจารย์เล่าถึงความฝันช่วงหัวรุ่ง ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนหน้า https://youtu.be/hiZK4vrYfI4 อาจารย์ชัยวัฒน์เป็นนักฝัน … ฝันใฝ่สร้างสังคมที่ดีงาม  แต่ความฝันในยามหลับ ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยได้ยินจากอาจารย์  เราจึงฟังด้วยความตั้งใจ  ความฝันของอาจารย์ทำเอาขนหัวลุก  ฝันลางบอกเหตุ หรือการอ่านแนวโน้ม  ไม่ว่าจะเป็นอะไร สิ่งที่เราว่าสำคัญและน่าสนใจ (ทำให้เราบันทึกคลิปนี้)    คือการวางใจ มุมมอง วิธีคิดของอาจารย์ที่มีต่อความฝันนั้น  เราว่ามันมีความหมายและเป็นประโยชน์  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  เราวางใจอย่างไรในห้วงวิกฤต  ศักยภาพอะไรที่จะพาเราฝ่าวิกฤต  ในวิกฤตมีโอกาสอะไร และเราจะใช้มันอย่างไร  ลองฟังคลิปสนทนากับอาจารย์ชัยวัฒน์เรื่องความฝันยามใกล้รุ่ง

ความฝันยามใกล้รุ่ง Read More »

Aikido is philosophy in action

ฝึกไอคิโด้ แท้จริงแล้ว เป็น experiential learning หรือ learning by doing ดังเช่น อาชีพ ช่างไม้ อาชีพทำอาหารเป็น chef คือ ต้องมีทั้ง understanding philosophy and skills ( เทคนิค ทำเป็น จนเชี่ยวชาญ) https://youtu.be/dDvjvFYAikM Aikido is philosophy in action . มันเป็นเรื่องมี awareness , focus and concentration of force alignment หลอมรวมหยิน/หยาง Learning Process  1) ครูผู้สอน หรือ Sensei เรียก คู่ต่อสู้ มาสาธิต ทำให้ดู ก่อน 3/4 ครั้ง 2)

Aikido is philosophy in action Read More »

Belonging to the Universe 

บันทึกเมื่อ ตุลาคม 2566 หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ 1992 ซื้อมา 21 ปีแล้ว นำกลับมาอ่านใหม่ ทำให้ตระหนักว่า เมื่อก่อนนี้ เรามองหลายอย่างหยาบไป จิตละเอียดอ่อนไม่พอ เป็นหนังสือของ 3 ปราชญ์ dialogue กัน -Fritjof Capra พวกเรารู้จักกันดึ จากTao of Physics  -Brother David Steindl-Rast เป็นพระนิกาย Benedictine -Thomas Matus พระคาโธลิก  การสนทนาพยายามเชื่อมวิทยาศาสตร์กับศาสนา(คริสต์) เข้าด้วยกันจากมุมมองของนักฟิสิกส์และเทววิทยา หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ใน 5 หน้านี้ อันเป็นการเปรียบเทียบ กระบวนทัศน์เก่า และกระบวนทัศน์ใหม่  ทั้งในวิทยาศาสตร์ และ เทววิทยา สำหรับตนเอง เอากระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการเอามาใช้ กับ Systems Thinking พูดง่าย แต่ฝึกให้ ติดเนื้อติดตัว ต้อง ฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ละทิ้ง

Belonging to the Universe  Read More »

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร”

หนังสือ 2 เล่มนี้ สำหรับผมคือกัลยาณมิตร 2 คน  Who do we choose to be? “คุณเลือกเอาว่าจะเป็นใคร”? เป็นการกระตุ้นท้าทายการภาวนาลุ่มลึกของการค้นหา meaning of life (ความหมายของชีวิต) ของวิคเตอร์ แฟรงเกิล Viktor Frankl อันจะนำไปสู่การเข้าถึงศักยภาพสูงสุดในตนเอง (self actualization) ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมลำดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)  ส่วนเล่มที่เป็น the Tao of Powerในเล่มเกริ่นเรื่องตัวเราต้องเป็น Evolving Force เป็นการเอา เต๋ามาใช้กับชีวิต 4 มิติ 4 ระดับนั่นเอง ดังนั้นความเป็น มนุษย์ที่เราเลือก คือ การเดินทางเผชิญหน้ากับความท้าทายกับ VUCA and BANI World ขณะเดียวกับเดินทางพัฒนาภายใน หลายคนเรียกว่า IDG ( Inner Development Goal) นั่นเอง  พระกฤษณะสอนอรชุนว่า  Who Do You Choose to Be?  Small Self… หรือจะเลือก..  Higher Self, Bigger Self อันเป็นหนึ่งเดียวกับพระนารายณ์ กับพระเจ้า เป็น Timeless Leader  เราเห็น 3 วัฒนธรรม 3 ประเพณี เรื่องเล่าและตีความ .. แต่มุ่งไปที่เรื่องเดียวกัน  “เรียนรู้

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร” Read More »

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ของตัวเรา

Who Am I? ผมจำได้ ว่ากลางปี 2511 ผมได้กลับมาเยี่ยมบ้าน จ.นครศรีธรรมราช หลังจากไป เรียนที่เยอรมันได้ 5 ปี ค่ำวันหนึ่งที่อำเภอทุ่งสง ไม่ไกลจากบ้านน้าชายที่ผมไปพัก มีคนจัดงานบุญแล้วจ้างหนังตะลุง มาเล่นเพื่อความบันเทิง.. แค่เสียงกลอง โหม่ง กรับ อันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีตะลุง ผมยืนฟัง ด้วยน้ำตาคลอเบ้า รู้สึกถึงแรงสะเทือนในหัวใจ บอกกับตนเอง“ นี่คือบ้านของเรา แผ่นดินของเรา” Sense of Belonging เป็นความผูกพัน ให้ความอบอุ่นหัวใจ ให้ความหมายกับชีวิต แต่น้อยคนจะ เข้าใจ เข้าถึงแล้วเอามาพัฒนาให้เป็นมรดกสืบต่อไป  ผมตระหนักชัดเรื่องคุณค่าของประวัติศาสตร์ รัก เคารพต่อประวัติศาสตร์ทุกท้องถิ่นไทย เพราะนี่ คือ สยามคือบ้านของเรา ฝรั่งหลายคนที่ได้เกิดที่สยาม ถือว่า สยามคือบ้านของเขาด้วย เกอเธ่ กล่าว“ สิ่งที่ล้ำค้าอันได้มาจากประวัติศาสตร์ คือ ความฮึกเหิมที่ปลุกเร้าใจ เรา” มันจะนำไปสู่ spiritual connection (ความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ)  และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราควรภาวนาก่อนทำงานใหญ่ เสมือนเราทำการภาวนาก่อนเข้าสงคราม  แต่เป็น“สงครามกับความเขลา ขาดพลังปัญญา ขาดพลังความเพียร และไม่กล้าก้าวข้าม ขอบเขตเดิม” ภาวนา อย่างจริงใจ

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ของตัวเรา Read More »

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry) 

บางตอนจากหลักสูตร ผ่อนคลายกาย–ใจและใคร่ครวญ (Retreat and Reflection) โลกเปลี่ยนแปลงเพราะคำถาม อย่างเจ้าชายสิทธัตถะถามว่า “ทำไมชีวิตเป็นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร” แล้วด้วยคำถามดังกล่าว ท่านทุ่มเทชีวิตแสวงหาคำตอบเป็นเวลา 6 ปี เอาชีวิตเข้าแลก  นักวิจัยรางวัลโนเบิลใช้เวลา 10-20 ปีกว่าจะได้คำตอบ และบางครั้งก็ต้องแลกด้วยชีวิต อย่างมาดาม คูรี่ พยายามเข้าใจเรื่องรังสี จนพบอานุภาพรังสีเอ๊กซ์เรย์ แต่สิ่งที่เธอต้องแลกกับการค้นพบ ก็คือ เธอได้รับรังสีนั้นมากและป่วยเป็นมะเร็ง เสียชีวิตในที่สุด  ไอน์สไตน์ ตั้งคำถามว่า “ถ้าฉันขี่ลำแสง แล้ววิ่งด้วยความเร็วของแสง จักรวาลจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร” คำถามนี้นำไปสู่คำตอบที่เรียบง่าย คือ E= MC2 ซึ่งเป็นสมการที่เปลี่ยนโลกจนถึงทุกวันนี้  กุญแจของการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถาม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งในโลกสมัยใหม่ ที่ซับซ้อน ถามเพื่อสืบค้นร่วมกัน ถามเพื่อเปิดประเด็นและการสนทนา งานวิจัยดี ๆ มาจากคำถามที่ดี ๆ งานวิจัยสุดยอดมาจากคำถามสุดยอด  ในชีวิตของเรา เคยมีคำถามอะไรบ้างไหม ในโครงการของเรา มีคำถามอะไรสำคัญๆ หรือไม่  การตั้งคำถามและสืบค้น คือ

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry)  Read More »

การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว

(คัดลอกความบางตอนมาจาก คู่มือหลักสูตรการเรียนรู้นักปฏิบัติการทางสังคมและสุขภาวะ ผู้นำที่แท้แห่งศตวรรษที่ 21  โดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์)  อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ มักกล่าวเสมอว่า หลังจากที่เราทำงานแล้ว เราเคยสรุปบทเรียนและเรียนรู้จากปฏิบัติการของเราหรือไม่ อย่างไร เราเรียนรู้อะไรจากการงานบ้าง (ที่เราหว่านลงไปแล้ว)  เคิร์ท ตูชอลสกี้ (Kurt Tucholsky) นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนเยอรมัน เชื้อสายยิว เคยกล่าวว่า “ประสบการณ์นะเหรอ…ไม่เห็นมีอะไร บางคนทำผิดซ้ำซากเป็น 20 ปี”  คนมีประสบการณ์มากมายอาจจะไม่ได้เรียนรู้อะไร ทำเรื่องเดิม ความผิดเดิมๆ ซ้ำซาก ดูตัวอย่างชาวนาไทย ที่ไม่อยากให้ลูกเป็นชาวนา เพราะตนเองอยู่กับความเจ็บปวด ยากจน ทุกข์มายาวนาน แต่ก็ยังอยู่กับทุกข์ที่เดิม แม้จะมีประสบการณ์ความทุกข์มายาวนานเป็นสิบๆ ปีก็ตาม เพราะเหตุใด ?    .. แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ส่วนมากก็เป็นเรื่องที่ชาวนาไม่ให้เวลาครุ่นคิดใคร่ครวญ ตั้งคำถามเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตน ประสบการณ์จึงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าไม่เรียนรู้  อาจารย์ชัยวัฒน์ย้ำ “เราไม่ได้เรียนจากประสบการณ์ แต่เรียนจากสมรรถนะในการมีประสบการณ์” เป็นคำพูดที่มี ผู้อ้างว่า มาจากพระพุทธองค์ (ภาษาอังกฤษใช้ว่า

การถอดบทเรียน : ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ : สืบทอดปณิธานท่านพุทธทาส(จบ)

คัดจาก www.matichon.co.th. / บทความพิเศษ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เมื่อเราได้เดินทางสืบค้นภูมิปัญญาของท่าน “พุทธทาส” มาจนถึงบทนี้ เราจะพบว่า ท่านพุทธทาส มี “อินทรีย์พิเศษ” ที่ทำให้ท่านมองได้อย่างแหลมคมและลึกซึ้งกว่าคนธรรมดาหลายสิบปี เนื่องจากท่านเดินบนเส้นทาง “พุทธมรรควิถี” อย่างแท้จริง ทำให้ท่านไม่จำเป็นจะต้องยึดมั่นถือมั่นดังที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น” เมื่อท่านไม่ยึดติดกับเปลือกท่านจึงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการที่จะสื่อสารให้คนธรรมดาสามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ตื่น ผู้รู้ และผู้เบิกบานได้ ท่านจึงสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาตร์ นำเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรืออัลเฟรด อาดเลอร์ (Alfred Adler) มา ทดลองใช้ในการสอนธรรมะได้ ท่านพุทธทาสยังคงให้ความสนใจเรื่องศิลปะและใช้งานศิลป์เป็นเครื่องมือในการแสดงธรรม ดังตัวอย่างที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” และได้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณขึ้นดังข้อความบางตอนที่ท่านได้เขียนจดหมายถึงสหายธรรมทาน “…อนึ่ง ขอวิงวอนผู้สนใจในการประกาศธรรมจงได้ร่วมมือกันสร้าง “โรงหนัง” แบบนี้ในลักษณะ ที่เหมาะแก่ท้องถิ่นของตัวกันขึ้นให้ทั่วหัวระแหงด้วยเถิด จะเป็น moral rearmament ทางศีลธรรมที่มีลักษณะเป็น dynamic อันมองไม่เห็นตัวอย่างรุนแรงในบรรยายกาศทั่วไป เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพอันถาวรของมนุษย์เรา…” อ่านคำอธิบายภาพ ท่านพุทธทาสท่านก้าวเร็วล้ำหน้าคนทั่วไปมากจนสิ่งที่ท่านพร่ำเตือนไว้เมื่อกว่า 50 ปีก่อนจึงยังไม่เข้าสู่หัวใจคนไทย เพราะคนทั่วไปยังไม่ประสบกับอันตรายอย่างชัดเจน

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ : สืบทอดปณิธานท่านพุทธทาส(จบ) Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 6 :  Happiness is back 

Happiness is back เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 หนังสือพิมพ์รายวัน “ทาเกสสปีเกิล” ในกรุงเบอร์ลิน ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์จิตแพทย์คนหนึ่งแห่งโรงพยาบาล “ชาร์ริแทร์” เธอพูดว่า ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากความเครียดในประเทศเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มสูงมากในระยะ 5 ปีหลัง ชาวเยอรมันจำนวนค่อนข้างมากมีความวิตกกังวลต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึงสูงขึ้น คำว่า angst อันเป็นภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า “ความกลัว” ปรากฏมากขึ้นในสื่อมวลชนเยอรมัน  และที่น่าสนใจก็คือในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก็รับคำว่า angst ไปใช้มากขึ้น เพราะมันสะท้อนความกลัวที่ลึกไปกว่าคำว่า fear ในภาษาอังกฤษ ถ้าเรากวาดสายตาไปรอบโลกจะพบว่าความกลัว (angst) ต่ออนาคตที่คาดเดาไม่ได้นั้น ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเยอรมนีเท่านั้น ประเทศอื่นๆ อีกมากน่าจะมีผู้คนที่หวาดหวั่นต่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ทั้งๆ ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวไปไกลมากจนถึงสามารถชะลอความตายของมนุษย์ได้ อายุโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้น ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุก็มีจนล้นเหลือ แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศที่ก้าวหน้าในตะวันตกและญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มีความสุขกว่า 50 ปีก่อน หรือกล่าวให้ชัดลงไปความสุขกลับน้อยลงกว่าอดีต มันเป็นโลกปริทรรศน์โดยแท้ จากความกลัวและความทุกข์ที่สังคมต่างๆ เผชิญในวันนี้ ทำให้นักคิด นักวิชาการ และประชาชน จำนวนหนึ่งเริ่มตั้งคำถามต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นตัวเลขของความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขด้านอื่นๆ ของสังคมว่าเป็นเป้าหมายที่ยังคงต้องเดินไปหามันหรือไม่ ริชาร์ด เลยาร์ด

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 6 :  Happiness is back  Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ

พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ   เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ “อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง” (The U : Language of Regeneration)  เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบันต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง “แบบใหม่” เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) “วิธีมองแบบใหม่” นี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร  ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้ อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ. 2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง “เขี้ยวของโลก” อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก “เขี้ยว” ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน  

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ Read More »