Publications

รวบรวมบทความ งานเขียนของอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ที่เคยเขียนไว้ในสื่อต่างๆ รวมถึงเรื่องเล่า และบันทึกต่างๆ ที่ได้เขียนเล่าไว้ในกลุ่มเล็กๆ

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ

พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ   เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ “อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง” (The U : Language of Regeneration)  เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบันต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง “แบบใหม่” เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) “วิธีมองแบบใหม่” นี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร  ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้ อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ. 2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง “เขี้ยวของโลก” อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก “เขี้ยว” ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน   […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 : พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 4 : “พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

  จากการได้ติดตามอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวเตือนเรื่องโลกที่กำลังอันตรายจากการโยกโคลงและหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต ทำให้ผมอดถามตนเองไม่ได้ว่าท่านพุทธทาสสามารถมองเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เร็วกว่านักวิชาการตะวันตกถึง 30-40 ปีได้อย่างไร ? ท่านใช้หลักอะไร และวิธีการอะไร ในการมองทะลุ (insight) ทั้งๆ ที่สมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ คำว่าโลกาภิวัตน์ยังไม่ได้บัญญัติ แต่ท่านบอกว่าโลกกำลังอยู่ใน turmoil ท่านก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่าอันตรายใหญ่หลวงน่ากลัวต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านเตือนเรื่องการอยู่อย่างเท่าทันโลก ไม่ให้ถูก “เขี้ยวของโลก” ขบกัดได้ เสมือนลิ้นงูที่อยู่ในปากงูแต่ไม่ถูกเขี้ยวงูขบกัด   ถ้าจะเปรียบกับทฤษฎีไร้ระเบียบ ท่านพุทธทาสมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อระบบที่ห่างไกลจากจุดสมดุล (system far from equilibrium) ท่านรู้กฎของวิทยาศาสตร์แห่งความอนิจจัง (science of becoming) เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อท่านจับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขเบื้องต้น (initial condition) และเห็นการเชื่อมโยงป้อนกลับของปัจจัยต่างๆ ที่กระทำต่อกันและกัน ท่านจึงรู้เรื่อง “ผลกระทบผีเสื้อ” (butterfly effect) ที่เหตุเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่ได้   พูดง่ายๆ ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์แห่งความไร้ระเบียบอย่างดียิ่ง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพูดตัวทฤษฎี   ปริศนาที่ผมถามตัวผมเอง และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผมพอสรุปเป็นข้อมูลสมมติฐานว่าอัจฉริยภาพของท่านพุทธทาสในการเข้าใจแก่นของทฤษฎีไร้ระเบียบน่าจะมาจากการที่หลักการการคิดและวิธีการแสวงหาปัญญา ดังนี้  

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 4 : “พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ Read More »

พระพุทธทาส

” พระพุทธทาส ” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 3 : โลกไร้ระเบียบในทรรศนะของท่านพุทธทาสพุทธทาส

ในหนังสือชื่อ “บันทึกนึกได้เอง” ที่ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่าน พระพุทธทาส ที่บันทึกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า “ครั้นบัดนี้โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า” ต่อมาวันที่ 16 เมษายน ท่านได้ตั้งคำถามว่า “โลกต้องการอะไรบ้าง เพื่อลดความเร่าร้อนรุนแรงให้เย็นลง” ซึ่งท่านได้วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย to cool the present turmoil ในปีเดียวกันอีกนั่นเอง ท่านบันทึกไว้ในสมุดที่เป็นหน้าของวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2495 ท่านเขียนตัวโตไว้กลางกระดาษเพื่อย้ำความสำคัญเป็นอักษรพาดหัวใหญ่ว่า “โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที ?” แล้วเสริมรายละเอียดข้อสังเกตด้วยลายมือของท่านเองดังนี้ “นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง physics ย่อมไม่เชื่อและเห็นด้วย แต่สำหรับนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ หรือนักการเมือง และอื่นๆ อีกเป็นอันมากย่อมมองเห็นชัด และเชื่อว่าโลกหมุน “จี๋” ยิ่งขึ้นทุกที และจะหมุนเร็วขึ้นอีกจนละลายไป เพราะการหมุนเร็วเกินขอบขีดนั้นก็ได้” นี่เป็นข้อห่วงใยที่ท่านพุทธทาสมีต่อโลกและมนุษยชาติ สิ่งที่ท่านได้เขียนเอาไว้และกล่าวไว้ในหลายๆ ที่ในเวลาต่อมา ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเวลานั้นเลย

” พระพุทธทาส ” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 3 : โลกไร้ระเบียบในทรรศนะของท่านพุทธทาสพุทธทาส Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 2. : ว่าด้วยหลักคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบในมุมของวิทยาศาสตร์

คัดจาก www.matichon.co.th. : บทความพิเศษ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ “ความไร้ระเบียบ” ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ สภาพและกระบวนการของระบบที่ไร้เสถียรภาพ (unstable) อันมีความอ่อนไหวสูงยิ่งและเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น (initial condition) แต่เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุเล็กๆ เพียงเบื้องต้นทำให้เกิดพัฒนาของระบบที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง เป็นเส้นทางคดเคี้ยว กวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำนายให้ถูกต้องแม่นยำได้ยาก   ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดหลักที่เชื่อถือกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ขอให้รู้สมมติฐานอันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นให้ชัดเจน จริงๆ จะสามารถทำนายผลลัพธ์ออกมาได้อย่างแม่นยำ   ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนั้นเราสามารถศึกษาได้จาก Edward Lorenz แห่งสถาบัน MIT  ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนั้นเราสามารถศึกษาได้จาก Edward Lorenz แห่งสถาบัน MIT เมื่อกลางทศวรรษที่ 60  อาจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา (meteoro logy) ผู้นี้พยายามสร้างโมเดลการคำนวณในการพยากรณ์อากาศโดยใช้สมการง่ายๆ แสดงการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับกระแสลม  เขาป้อนข้อมูลที่จุดทศนิยม 6 หลัก คือ 0.506127

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 2. : ว่าด้วยหลักคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบในมุมของวิทยาศาสตร์ Read More »

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 1 :  โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ ป้อมค่ายทางเศรษฐกิจและการเมืองได้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ฟากหนึ่งเป็นโลกทุนนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เอื้อย ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นโลกสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวลานั้นสามารถจำแนกมิตรและศัตรูกันได้ชัดเจน ถึงแม้จะมีกลุ่มไม่ฝักฝ่ายค่ายใดอยู่ประมาณ 30 ประเทศที่ขออยู่ตรงกลางไม่เป็นพวกใครเต็มตัวเป็นเกาะเล็กๆ ท่ามกลางทะเลแห่งการต่อสู้อย่างดุเดือดทางอุดมการณ์สองลัทธิ การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จะไม่ลดละให้แก่ฝ่ายใดสักนิ้วเดียว สองอภิมหาอำนาจไม่ยอมให้มีการเพลี่ยงพล้ำดุลแห่งกำลังเป็นอันขาด เพราะการไม่คานกำลังกันโดยเฉพาะด้านกำลังอาวุธมันจะกลายเป็นการคุกคามความมั่นคงของแต่ละอภิมหาอำนาจ พูดง่ายๆ เมื่อตาชั่งแห่งแสนยานุภาพทางทหาร เอียงไปข้างใดเกินไป โลกจะไม่มั่นคงทันที ในห้วงเวลาตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2533 แม้จะมีสงครามตัวแทนและสงครามเพื่อเอกราชประชาธิปไตยในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่โลกก็ยังมีเสถียรภาพอยู่ เพราะแต่ละอภิมหาอำนาจรู้ดีว่า “เส้นแบ่งเสถียรภาพ” นั้นอยู่ตรงจุดใด และไม่ควรล้ำเส้นนี้ออกไป มันเป็นโลกที่ดูเหมือนอันตราย แต่แก่นแท้แล้วมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะมันตรรกะที่ชัดเจน มองเห็น “เส้น” ชัดเจนแต่ละฝ่ายสามารถคำนวณและหยั่งเชิงกันได้ ไม่ให้ “ออกนอกกรอบ” แห่งดุลกำลัง ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าตนเองต้องเล่นตามกฎและกติกา เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ ความไม่เข้าใจกันหรือความเข้าใจผิดเล็กน้อย (ดังกรณีคิวบาในปี 2505 เกิดขึ้นอีก) มาทำให้เรื่องบานปลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งพินาศย่อยยับกันทั้งคู่ มันเป็นโลกที่มีความชัดเจน และ “เป็นระเบียบ” การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินเมื่อเดือนพฤศจิกายน

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 1 :  โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง Read More »

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่

โดย : ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นักวิชาการหลายคนที่สนใจเรื่องระบบซับซ้อน (complex system) ได้แบ่งประเภทของความซับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจว่า มันมีด้วยกัน 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความซับซ้อนที่มีพลวัต (dynamic complexity) ความซับซ้อนทางสังคม (social complexity) และความซับซ้อนที่บานปลาย (generative complexity)  ถ้าระบบใดที่ความซับซ้อนยังมีดีกรีต่ำ การแก้ปัญหาแบบวิธีเดิม ก็พอจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าระบบใดที่มีความซับซ้อนสูงจนถึงขั้นสูงยิ่ง วิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว เช่น วิธีการ “สั่งการและควบคุม” (command and control) จะไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะระบบที่มีความซับซ้อนสูงจะไม่ทำงานดุจดังเครื่องจักร ที่เดินไปเป็นเส้นตรง   และยิ่งความซับซ้อนทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ระบบมันจะเดินไม่ปกติ มันจะคดเคี้ยวพลิกผันได้ง่าย สถานการณ์และพฤติกรรมของระบบจะขึ้นๆ ลงๆ มีทิศทางที่คาดเดายาก ระบบใดก็ตามเมื่อเข้ามาอยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเปราะบาง กระทบง่าย เรื่องเล็กๆ สามารถส่งผลกระทบปฏิกิริยาลูกโซ่ และมีการป้อนกลับกันไปมาเชิงยกกำลัง (reinforcing feedback) จนบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือบางคนเรียกว่าทฤษฎีโกลาหล (chaos

ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่ Read More »

เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง

เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง

ราษฎรอาวุโสอย่าง อาจารย์ประเวศ วะสี ได้เขียนคำปรารภไว้ในหนังสือ “ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมสยาม” (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537) ว่า ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ คือ คนแรกที่นำทฤษฎีไร้ระเบียบมาสู่สังคมไทย สาระสำคัญของทฤษฎีที่ว่านี้เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่มองสรรพสิ่งสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างสลับซับซ้อน และที่สำคัญ เป็นแนวคิดที่เปิดใจ มีพื้นที่ว่างให้แก่ “ความบังเอิญ” ไร้ต้นสายปลายเหตุ ซึ่งทฤษฎีวิทยาศาสตร์แบบเก่ารับไม่ได้ สาระสำคัญของทฤษฎีที่ว่านี้เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่มองสรรพสิ่งสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างสลับซับซ้อน และที่สำคัญ เป็นแนวคิดที่เปิดใจ มีพื้นที่ว่างให้แก่ “ความบังเอิญ” ไร้ต้นสายปลายเหตุ ซึ่งทฤษฎีวิทยาศาสตร์แบบเก่ารับไม่ได้ สาระสำคัญของทฤษฎีที่ว่านี้เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่มองสรรพสิ่งสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างสลับซับซ้อน และที่สำคัญ เป็นแนวคิดที่เปิดใจ มีพื้นที่ว่างให้แก่ “ความบังเอิญ” ไร้ต้นสายปลายเหตุ ซึ่งทฤษฎีวิทยาศาสตร์แบบเก่ารับไม่ได้ แต่ใช่ว่าสังคมไทยจะใจกว้าง เพราะถึงวันนี้ ทฤษฎีไร้ระเบียบก็ยังเป็นเพียงหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งที่วางนิ่งอยู่บนชั้นหนังสือ ปราศจากการนำมาศึกษาต่อเพื่อปรับใช้ในสังคมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง แต่ถึงอย่างไร ชัยวัฒน์วันนี้ก็ยังยืนยันในจุดยืน ไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันที่ต้องการเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่คนมีคุณภาพ และเป็นสังคมที่น่าอยู่กว่าเดิม เขายังคงปรารถนาอยากเป็น “นักอภิวัฒน์” (revolutionist) ไม่เสื่อมคลาย งานอภิวัฒน์ชิ้นแรกของชัยวัฒน์คือ “บางกอกฟอรัม” (Bangkok

เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง Read More »