Belonging to the Universe / Life story & Self-mastery / By admin บันทึกเมื่อ ตุลาคม 2566 หนังสือน่าอ่านสำหรับผู้นำองค์กร หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ 1992 ซื้อมา 21 ปีแล้ว นำกลับมาอ่านใหม่ ทำให้ตระหนักว่า เมื่อก่อนนี้ เรามองหลายอย่างหยาบไป จิตละเอียดอ่อนไม่พอ เป็นหนังสือของ 3 ปราชญ์ dialogue กัน-Fritjof Capra พวกเรารู้จักกันดึ จากTao of Physics -Brother David Steindl-Rast เป็นพระนิกาย Benedictine-Thomas Matus พระคาโธลิก การสนทนาพยายามเชื่อมวิทยาศาสตร์กับศาสนา(คริสต์) เข้าด้วยกันจากมุมมองของนักฟิสิกส์และเทววิทยา หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ใน 5 หน้านี้ อันเป็นการเปรียบเทียบ กระบวนทัศน์เก่า และกระบวนทัศน์ใหม่ ทั้งในวิทยาศาสตร์ และ เทววิทยา สำหรับตนเอง เอากระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการเอามาใช้ กับ Systems Thinking พูดง่าย แต่ฝึกให้ ติดเนื้อติดตัว ต้อง ฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ละทิ้ง การย้ายกระบวนทัศน์ ข้อ 1 และ2 ใช้ในการพินิจพิจารณาสภาวะของโลกธรรมชาติภายนอก เป็นประสบการณ์ภายนอก แต่ ข้อ 3-5 เป็น กระบวนทัศน์ใหม่ ที่มีสติ สมาธิพิจารณา จิตและใจ ของตนในการค้นหาความรู้และปัญญา เป็นวิธีการญาณวิทยา การพิจารณาค้นหาความจริง epistemology เพราะเราเป็น first person observer เราเป็นผู้ตีความ เราเป็นผู้เพ่งพิจารณา( เต๋า เกอเธ่ จิตว่าง นุ่มนวลอ่อนโยน) หรือ Werner Heisenberg นักฟิสิกส์ราววัลโนเบลก็พูด ว่าการ พิจารณาตั้งคำถามของเรา มีอิทธิพลต่อ particle epistemology : พุทธิปัญญา epistemology หรือพุทธิปัญญา คือแก่นแท้ของการพบความจริงแท้ KM : Knowledge Management เป็นวิธีการเข้าถึงความจริงแท้ ที่ยัง “หยาบ” อยู่ ละเอียดอ่อนไม่พอ เพราะ KM นั้น มองความรู้เป็น ………. อันเป็นกระบวนทัศน์เก่า (Capra) ขณะที่กระบวนทัศน์ใหม่ในการแสวงหาพุทธิปัญญา (epistemology) ผู้พิจารณา สังเกต ตั้งคำถาม ฟัง และจดบันทึกนั้น เป็น First person observer เป็น subjective ร่วมด้วย ดูกรณี เกอเธ่ และ Goethean science Beauty is in the eyes of beholder. “ความงามนั้นอยู่ในดวงตาของผู้พิจารณา“ เมื่อหลายปีก่อนใน workshop เคยเล่าเรื่อง ท่านอังคาร กัลยาณพงษ์ วาดภาพต้นโพธิ์แบบลายไทย วาดและลบ ถึงสามครั้งจึงพอใจ “เพราะมันงามดั่งใจเห็น“ ศาสตราจารย์โนนากะ จึงทำเรื่อง Knowledge Creation แทน KM เพราะความรู้ถูกสร้างขึ้นโดย “สังเกตธรรมชาติ สนทนากับตัวเอง และสนทนากับผู้อื่น อีกทั้งความรู้จากบรรพชน“ KC จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างความรู้ จนไปสู่พุทธิปัญญา KM ที่วงวิชาการทั่วไปใช้ จึงเป็นแค่การ “จัดการข้อมูล วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่” เห็นแค่ภายนอก (I in it) ขณะที่ KC นั้น มี I in you , I in it , I in Now เป็น Direct knowing : Intuition เมื่อสภาวะจิตกำลัง ลื่นไหล ไปกับ self-reflection ก็เลย ต้องบันทึกเอาไว้ อ่านกัน เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้เรื่องน่าอ่านอื่นๆ Post Views: 4,361