"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

“เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ผมเพิ่งได้หนังสือเล่มใหม่ “เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary by John Clubbe) ตนเองเป็นคนชอบฟังเพลงของเบโธเฟน มากกว่านักประพันธ์เพลงคนอื่นใด โดยเฉพาะเพลงซิมโฟนี่หมายเลข 5  ผมชอบที่สุดฟังไม่เคยเบื่อ  บางครั้งก็เอาบางท่อนของเพลงยาวราว  7-8  นาที  มาเปิดให้ฟัง ตอนเช้าในกระบวนการ  เช็คอินในฝึกอบรม  เสียงกระแทกกระทั้นของเปียโน   “โชคชะตากำลังมาเคาะประตูบ้าน เราแล้ว”… แท่น แท่น แท้น แท้น…

เบโธเฟน เกิดเดือนธันวาคม ค.ศ. 1770 ขณะที่นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิด เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1769 อ่อน กว่า1ปี  ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน

ชีวิตผู้เขย่าโลกทั้งสองคนนี้ ได้ลืมตาดูโลกหลังการก่อกำเนิด ยุค Renaissance หรือ ยุคศิลปวิทยาการ 200 ปี. สายใยวิถีคิดของนักปรัชญา กระแส การเมือง สังคม วิทยาศาสตร์ วิทยาการ และวรรณกรรม ดนตรี จิตรกรรมปฏิมากรรม. นั้นถักทอแยกกันไม่ออก.

เราได้ใคร่ครวญทบทวน เรื่อง “เดวิดและยุคสมัยแห่งการตื่นทางปัญญา” มาแล้ว ลองติดตามสายธารแห่ง การดิ้นรนต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่าอันเป็นอุดมคติของมนุษยชาติต่อไป

บางทีอาจจะทำให้เราแต่ละคนได้ครุ่นคำนึงเรื่อง Zeitgeist (Spirit of Time ) หรือวิญญาณแห่งกาลเวลา นั้นมีผลต่อชีวิตและงานของปัจเจกบุคคลอย่างไร   โดยเอาบางด้าน   บางส่วนของการเดินทางในการประพันธ์ เพลงของ เบโธเฟน เป็นกรณีศึกษา และเป็นกระจกสะท้อนชีวิตเรา เพื่อเห็นตนเอง เห็นครอบครัวและมิตรสหาย ของเราในโลกและสังคมไทยหลังโควิด19 (หวังว่าไม่มีระลอกสองนะ ภาวนา)

ชื่อเต็มของ เบโธเฟน คือ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven) ปู่ของเขาเป็นชาว เฟลมิช (Flemish)เป็นคนที่เกิดและอาศัยในพื้นที่  ฮอลแลนด์ตอนใต้และเบลเยี่ยมตอนเหนือ  ภาษาเฟลมิชนั้นกระเดียด มาทางภาษาดัตซ์

ปู่ของเขาได้ย้ายรกรากมาอยู่เมืองบอนน์ ปีค.ศ. 1740 สมัยนั้นบอนน์เป็นเมืองเล็กๆ ริมแม่ น้ำไรน์มีทิวทัศน์และภูมิประเทศที่งดงาม   

แม้จะเป็นเมืองเล็กประชากรราวหนึ่งหมื่นคนแต่มีความทันสมัยเป็น คอสโมโพลิตัน (Cosmopolitan) มีร้านหนังสือ มีภัตตาคาร ร้านกาแฟ เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา ได้รับอิทธิพลของ ฝรั่งเศสซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์  ชาวเมืองจึงมีความคิดไปทางก้าวหน้า  เปิดรับกระแสความคิดใหม่ๆ ต่างไป จากเมืองใหญ่เช่น  โคโลญจ์  ที่ห่างออกไปแค่  100  กิโลเมตร  เป็นเมืองเก่าแก่สมัยโรมันมีโบสถ์คาธอลิคขนาด ใหญ่อลังการ. แต่อนุรักษ์นิยม

ห้วงเวลาที่ปู่ของเบโธเฟนย้ายมาอยู่บอนน์มาได้ดีทางอาชีพการงาน เป็น Kapellemeister หรือหัวหน้า วงดนตรีในวังของเจ้านคร มักซิมิเลียน ฟรีดริช กระแสโรแมนติค (Romantic Age) กำลังก่อตัว

ดังเคยเล่ามาแล้วใน “เดวิดและยุคศิลปวิทยาการ ยุคแห่งการรู้แจ้ง” เกิดขึ้น เพราะดิ้นรนต่อต้าน “ยุคมืด” ที่ โบสถ์บีบบังคับพฤติกรรม   และระเบียบสังคมที่เคร่งครัดในศรัทธาจนขาดเหตุผล   มองข้ามความเป็นมนุษย์ ความคิดที่มีเหตุผลใช้ตรรกะ จนเป็นที่มาของกระบวนการคิด วิเคราะห์ วิจัยแบบวิทยาศาสตร์กลไกของ เซอร์ ไอแสค นิวตัน.

ครั้นพลังกระแสแห่งการเชิดชูเหตุผลผ่านไป 200 ปีเศษแห่งวิทยาศาสตร์กลไก แม้นำความก้าวหน้าด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา พาณิชยกรรม และนวัตกรรมใหม่ๆ ความล้นเหลือแห่งพลังการผลิตที่มี การใช้เครื่องจักรไอน้ำ นำมาสู่วัตถุนิยม บริโภคนิยม การเติบโตเจริญ รุ่งเรืองของเมืองใหญ่ ผู้คนและสังคมเริ่ม เหินห่างจากธรรมชาติ

ความสำเร็จทางเศรษฐกิจทำให้สมองและตรรกะถูกยกย่องจนอยู่เหนือความรู้สึก ลืมเรื่อง หัวใจและวิญญาณ. อีกทั้งละเลยความลี้ลับมหัศจรรย์แห่งจักรวาล. เราเห็นได้ชัดว่าเมื่อกลุ่มนำในสังคม. การ ศึกษาก็ใช้สมองซีกซ้ายด้านเดียว ใช้สายตาและกรอบคิดแห่งเหตุผลที่แข็งตัว จนลืมด้านอื่นแห่งธรรมชาติ ความเป็นมนุษย์ ทำให้เกิดการสวนกระแส… มีนักคิด นักประพันธ์ จิตรกร จำนวนไม่น้อยหันมายกย่องให้คุณค่า ต่อหัวใจ ต่อความรัก ต่อชีวิตที่งดงามของความเป็นเด็กและอารมณ์สุนทรีย์กับธรรมชาติ

เมล็ดพันธุ์แห่งวิญญาณใหม่ ความคิดใหม่ความเชื่อใหม่ ยุคสมัยโรแมนติกจึงเป็นเสมือนลมหายใจแห่งกาลเวลาได้อุบัติขึ้นก่อนเบโธเฟน ลืมตาดูโลก ราว 30 ปี เป็นพื้นดินอันอุดมและระบบนิเวศน์ทางปัญญา เมื่อ เด็กน้อยลุดวิก ฟาน เบโธเฟน เติบโตขึ้นมาเขาจึงดื่มกินและหายใจเอาวิญญาณดังกล่าวเข้าไปในเลือดเนื้อของ เขา

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

.

เมื่อได้ท้าวความถึงภูมิหลังของความยิ่งใหญ่ของเบโธเฟน เราจะพบว่าบรรพบุรุษวงศ์ตระกูลของเขามีส่วนไม่ มากก็น้อย

ในวัยเด็ก โยฮันน์พ่อของเขาซึ่งเป็นนักร้องเสียง tenor ในวังเห็นแววอัจฉริยะดนตรีในตัวลูกชาย พยายามเคี่ยวเข็ญลูกหนักหน่วง อีกทั้งเป็นคนติดเหล้าจึงเป็นครูดนตรีที่แย่มาก โชคดีที่โยฮันน์มีสติรู้ตัวว่าตนเองไม่มีฝีมือจะปลุกปั้นลูกชายให้เปล่งประกายด้านดนตรี จึงไปแสวงครูใหม่ให้ลูก และเบโธเฟนก็โชคดี จริงๆ ที่ได้พบครูดนตรีและ mentor ชื่อ คริสเตียน กอตโลบ เนฟเฟ (Christian Gootlob Neeffe)

เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ผมนึกขึ้นได้ว่า คนบางคนที่ได้พัฒนาชีวิตและศักยภาพจนถึงสภาวะสูงสุด (highest self) นั้น ชะตาชีวิต วาสนาของคนคนนั้นน่าจะมีส่วนด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครู เป็นเรื่องที่มีค่ามากสมควรใส่ใจให้มาก เพราะการสร้างคนมันไม่ใช่อุตสาหกรรมการศึกษาและถ่ายทอดความรู้ มันมีอะไรที่ลึก ซึ้ง มีคุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์ซ่อนอยู่ในนั้น

ดังกรณี เนฟเฟ กับ เบโธเฟน

เมื่อ เนฟเฟได้เป็นนักเล่นออแกนประจำวงดนตรีในวัง เบโธเฟนได้ทำงานเป็นผู้ช่วยครูของเขาด้วย ในวัย 13 ปีได้มีประสบการณ์แบบนี้ เบโธเฟน  ได้สั่งสมประสบการณ์และความคิดว่าจะดำเนินชีวิตทางดนตรีอย่างไร

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ได้เกริ่นเรื่อง ”เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” มาด้วยการ “ซูมอิน” ( Zoom in) ดิ่งลงสู่วัยเด็ก อีกทั้งมีสาย เลือดนักดนตรีตั้งแต่ตนเองยังไม่เกิด

มา “ซูมเอ้าท์” (Zoom out) ดูภาพใหญ่ของสังคมยุโรปต้นศตวรรษที่ 18 กันอีกครั้งว่ากระแสยุคโรแมนติกที่ก่อตัวจากครรภ์มารดาคือ  ยุคสมัย  ความคิดตรรกะมีเหตุผลแบบกลไก  จนลืมสภาวะอารมณ์  ลืมเรื่องหัวใจ  ความรักความละเอียดอ่อนละเมียดละไม  และจิตอันไวต่อสภาวะธรรมชาติและ สังคมรอบข้าง ซึ่งปรากฎอยู่ในบทกวีชาวอังกฤษ ดังเช่น William Wordsworth ดื่มด่ำกับดอกเดฟโฟดิล

ภาดวาดของจิตรกรชาวเสปน ฟรานซิสโก้ โกย่า และถัดมา วินเซ้นต์ ฟาน โก๊ะห์ ส่วนนิยายที่ขายดีมากยุคนั้นถึง 3 ล้านเล่ม “แวร์เธอร์ระทม”ของ เกอเธ่ เป็นประจักษ์พยานแห่ง “วิญญาณโรแมนติก” ที่อบอวลให้เบโธเฟนได้ หายใจเข้าออก..

.

แค่นักปราชญ์สำคัญ 2 คนยุคนั้นที่ต้องจารึกนาม. เพราะมีผลต่ออุดมการณ์ทางการเมืองคือ วอลแตร์ (Voltaire) ผู้ชูธงเรื่องเสรีภาพในการพูดและนับถือศาสนาอย่างดุเดือดเผ็ดร้อน และ ฌอง ฌาค รูโซ ผู้เขียน สัญญาประชาคม หรือหลักแห่งสิทธิทางการเมือง นโปเลียนนายทหารหนุ่มจากเกาะคอสซิก้า ผู้มีอายุมากกว่า เบโธเฟนเพียงหนึ่งปี ย่อมได้รับอิทธิพลความคิดดังกล่าวด้วยเช่นกัน

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ภาพ “วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1808” โดย ฟรานซิสโก้ โกย่า (Francisco Goya) เป็นภาพจิตรกรรมระดับ โลกที่รู้จักกันมาก ภาพนี้วาดขึ้นในปี 1814 เป็นการบันทึกเหตุการณ์ประชาชนชาวสเปนที่กำลังลุกฮือต่อต้าน การยึดครองของกองทัพนโปเลียน โบนาร์ปาด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1808 ระหว่างสงคราม เพนินซูล่า บันทึกเหตุการณ์การประหารหมู่ประชาชนชาวสเปนอย่างสยดสยองของกองทหารนโปเลียน  เป็นภาพที่บันทึก เหตุการณ์จริงในยุคแรกๆ   ของประวัติศาสตร์ศิลปะ   นักวิจารณ์เปรียบเทียบภาพนี้คล้ายกับภาพพระเยซูถูกตรึง ไม้กางเขน  ซึ่งเป็นการสละชีพเพื่อไถ่บาปกับมนุษย์  แต่ภาพนี้เป็นการสละชีพเพื่อมาตุภูมิ

นักประวัติศาสตร์ศิลปะชื่อเคนเนท คลาก (Kenneth Clark) กล่าวว่า “นี่เป็นผลงานชิ้นแรกของโลกที่บันทึกเหตุการณ์จริง  เป็นภาพแห่งการปลุกเร้าเพื่อการปฏิวัติ  ทั้งรูปแบบ  เนื้อหา และจุดหมาย”

ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด กรุงมาดริด ประเทศสเปน

อีกภาพที่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันที่โกญาวาดเพื่อให้แขวนด้วยกันคือ ภาพชื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 1808 ซึ่ง เป็นภาพที่ฝูงชนลุกฮือขึ้นสู้กับกองทหารของนโปเลียน   ก่อนจะถูกปราบและจับมาประหารหมู่

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

วิลเลียม เออร์เนสต์ เฮนลีย์ กวียุควิคตอเรียน ก็ได้รับอิทธิพลของโรแมนติกไม่น้อย

ในการฝึกอบรม leaders by heart  ผมเอาภาพยนตร์เรื่อง Invictus มาให้ได้ชมเพื่อเข้าใจคุณลักษณะของผู้นำที่แท้

ประธานาธิบดี เนลสัน มันเดลา พยายามสร้างความปรองดองในชาติระหว่างคนผิวขาวและคนผิวสี ผิวดำ ให้สมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวกันด้วย พลังแห่งการเชียร์ทีมรักบี้ สปริงบอคส์ หัวหน้าทีมรักบี้ ชื่อ ฟรังซัวส์ พีนาร์ คนขาวที่ไม่ลงคะแนนให้มันเดลาในการเลือกตั้ง แต่ประทับใจในบุคลิกของท่าน

เมื่อได้รับเชิญไปดื่มน้ำชายามบ่ายที่ทำเนียบ เขาได้รับแรงบันดาลใจในการนำทีมรักบี้สู่ความเป็นแชมเปี้ยนทั้งๆ ที่โอกาสนั้นมีแค่หนึ่งในร้อย

ในการซ้อมครั้งสุดท้ายของทีมสปริงบอคส์ ก่อนวันรุ่งขึ้น ลงชิงชนะเลิศกับเต็งหนึ่งคือ ทีม ออลแบล็ค แห่ง นิวซีแลนด์   มันเดลาได้ไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้เล่นที่ 14 คนเป็นชาวผิวขาว 1 คนผิวดำ

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ก่อนจากกัน ท่านได้เอา กระดาษแผ่นหนึ่งใส่มือ พีนาร์ แล้วพูดว่า “27 ปี ที่ผมถูกคุมขังในห้องเล็กๆ ในเรือนจำบนเกาะร็อบเบน ยามที่ผมท้อแท้หมดกำลังใจ แทบไม่อยากลุกขึ้น  ผมได้อ่านบทกวีบทนี้ปลอบประโลมใจ  ให้ลุกขึ้นสู้ใหม่” คืนนั้น ก่อนแข่ง  พีนาร์  ได้อ่านบทกวีสองสามเที่ยว  แล้วเขาแจ่มชัดในหัวใจว่า  รุ่งขึ้นวันชิงชัยเขาและลูกทีมต้องทุ่มเท เกินร้อย จึงจะพิชิต ออลแบล็ค ได้

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

นำจดหมายถึงเพื่อนฉบับสุดท้ายของชาร์ล ดาร์วิน ที่สารภาพ ว่าถ้าย้อนชีวิตกลับใหม่ได้ เขาจะให้เวลากับการ อ่านบทกวี ฟังดนตรี อ่านนิยายเพื่อให้ชีวิตมีอีกด้านหนึ่งที่ขาดหายไป. ไม่ใช่เอาแต่เก็บข้อมูล วิจัย วิเคราะห์ซึ่ง เป็นชีวิตที่มีเหตุผลแต่แห้งแล้งขาดรสชาติและความงาม

.

แต่ที่นึกได้ ว่าทำไมครั้งนี้จึงอยากเอาบทกวี จดหมายมาลง ก็เพื่อให้คนอ่าน ซึมซับความรู้สึกและสัมผัส จินตนาการแห่งวิญญาณแห่งยุคสมัยโรแมนติก ว่าถ้าเราได้อยู่ในยุคนั้น ลมหายใจเข้าออกแทบทุกวัน เราได้สูด รับอะไรเข้าไปในเลือดเนื้อและในกายเราบ้าง. บทกวี นิยาย วงสนทนา เป็นสิ่งที่จับต้องได้รู้สึกได้ แต่พลานุภาพ ของมันต้องใช้ภายในของมนุษย์ไปสัมผัส

Letter by Charles Darwin, late in his life, to a friend:

“Up to the age of thirty, or beyond it, poetry of many kinds, such as the works of Milton, Gray, Byron, Wordsworth, Coleridge, and Shelley, gave me great pleasure…But now for many years I cannot endure to read a line of poetry;…My mind seems to have become a kind of machine for grinding general laws out of large collections of facts…and if I had to live my life again, I would have made a rule to read some poetry and listen to some music at least once every week…The loss of these tastes is a loss of happiness, and may possibly be injurious to the intellect, and more probably to the moral character, by enfeebling the emotional part of our nature.”

Charles Darwin: His Life Told in an Autobiographical Chapter & in a Selected Series of his Published Letters, Edited by Francis Darwin. London: William Clowes and Sons, Ltd.1892, p. 51.

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

เรายังจำนักเทศน์ผู้มีวาทศิลป์จิโรลาโม ซาโวนาโรลา (Gironamo Savonarola) กันได้ไหม? ผู้พูดปลุกเร้าหัวใจ ชาวฟลอเรนซ์ผู้ต่ำต้อยให้ไฟในหัวใจลุกโชน  (ดัง  450  ปีเศษ  ที่ฮิตเลอร์สามารถปลุกระดมชาวเยอรมันจนนำพา ความใฝ่ฝันแห่งอาณาจักรไรซ์ที่ 3 อันมีชาวอารยันดังเชื้อสายเยอรมันเป็นผู้นำ. ไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 นั่น แหละ)  

เพราะขณะที่ความมั่งคั่งร่ำรวยไหลมายังเมืองฟลอเรนซ์   แต่มันไปกองอยู่ในมือของผู้มั่งคั่งและมีอำนาจ ไม่กี่ตระกูล.  ชาวเมืองผู้ทำงานหนักและยากจนข้นแค้น  ความแตกต่างราวฟ้ากับนรกเช่นนี้  เป็นบริบทที่จิโรลาโม ใช้รวบรวมพลังกองหน้าขึ้นจับอาวุธเพื่อโค่นล้มชนชั้นสูง ด้วยความหวังจะสร้างสังคมที่เท่าเทียมทุกด้าน

แต่เชื้อเพลิงความคิดความใฝ่ฝันแห่งสังคมอุดมคติที่มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีรายได้ มีสุขภาพดี หา ได้จบลงพร้อมกับความตายของจิราโลนิโมไม่ นักคิดชาวยุโรปผู้สืบทอดอำนาจสังคมอุดมคติแห่งเอเธนส์ที่มิใช่ นักปลุกระดม  แต่เป็นสัตบุรุษใคร่ครวญลุ่มลึกได้ทะยอยปรากฎตัวขึ้น..

ปีค.ศ. 1651 ชาวอังกฤษชื่อ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้ถ่ายทอดอุดมคติของเขาออกมาเป็น หนังสือ Leviathan ที่จัดว่าเป็นรากฐานของการเมืองสมัยใหม่ ซึ่ง ฌอง ฌาค รูโซ ต่อยอดมาเป็น เรื่อง “สัญญา ประชาคม”

ความคิดและจินตนาการของ ฮอบส์ ได้รับอิทธิพลจากปราชญ์ชาวกรีกดังเช่นเพลโต อริสโตเติ้ล ต่อมาหนังสือของ มาเคียเวลลี วิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ ปรัชญาการเมือง

รุ่นต่อมาดัง ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เรเน เดอการ์ต (Rene Descart) ล้วนเป็นอุดมการณ์การเมืองที่ ส่งต่อกันมาไม่ขาดสาย.

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

.

เมล็ดพันธุ์ความคิดเรื่องประชาธิปไตยและสังคมอุดมคติ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงเอเธนส์   ผ่านโสคราติส   เพลโต อริสโตเติ้ล และต่อมาถึงยุคโรมันที่ รัฐบุรุษอย่างชิเซโร (Cicero ) เป็นแบบอย่าง

การปกครองแบบประชาธิปไตย ได้ล้มลุกคลุกคลานเรื่อยมานับพันปี ผ่านยุคมืด ยุคแสงสว่างทางปัญญา ก็ยัง ไม่ได้เป็นจริงดังความใฝ่ฝันของนักคิดแต่ละยุคสมัย

เราได้เห็นว่าแม้จะมีนักคิด นักปราชญ์ นักสู้เพื่อสังคมอุดมคติ จะตายไปคนแล้วคนเล่า แต่สปิริต.. จิตวิญญาณ ของมันหาได้ตายตามบุคคลไม่ มันจะยังดำเนินต่อไป ตั้งแต่ใช้มือเขียนบนแผ่นหนัง กระดานชนวน การสลักบน ศิลา จนถึงเขียนด้วยพู่กันและ ปากกาบนกระดาษ มีแท่นพิมพ์ผลิตหนังสือ ออกเป็นนิตยสารรายเดือน รายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์รายวัน.

จนมาถึงยุคสังคมโซเชี่ยลมีเดียสมัยปัจจุบัน

พวกเราพอจินตนาการได้ไหม  ว่าสมัยนโปเลียนและเบโธเฟน  กระแสความคิด  การเคลื่อนไหวของผู้คนใน ยุโรปเมื่อ 200 ปีก่อน มันแพร่กระจายกันอย่างไร ? หรือทำไมความคิด อุดมการณ์ทางการเมืองจึงลอยอ้อยอิ่ง อยู่ในอากาศได้ดังก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนอากาศที่พร้อมจะตกลงมาใส่ผู้คน เมื่อถึงเวลาเมฆสีเทาเข้มทะมึนก็ กลายเป็นเมล็ดฝนตกลงมา (เราลองจินตนาการคล้ายๆ cloud ในคอมพิวเตอร์ดู ที่เราดึงข้อมูลลงมา มันมีอยู่ บนนั้นนะ. ถ้าเราอยากรู้ ก็ดึงลงมา)

ความคิดที่เสมือนลอยอยู่ในอนูแห่งอากาศปกคลุมสังคมยุโรปสมัยนั้น จึงมีคนกล่าววรรคทองว่า

“ อันความคิดนั้น เมื่อถึงเวลาของมัน จะเป็นพลังที่ไม่มีใครต้านทานได้ “

เรื่องเล่าต่างไปตั้งแต่ “เดวิดและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ” มาถึงประวัติศาสตร์การเมืองและศิลปวัฒนธรรมนั้น เพื่อย้ำ

“วิญญาณแห่งการเวลาที่มีจริงของแต่ละยุคสมัยทุก 100 ปี เพื่อให้เราได้หันหน้ามาสนทนากัน “ แล้ววิญญาณแห่งสมัยของเรา Zeitgeist นี้ ก่อนโควิด19 และหลังโควิด สารัตถะของมันคืออะไร? และ “เวลา ของมัน” จะมาถึงเมื่อใด? แล้วรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็น “วิญญาณที่แท้จริง” วิญญาณของแท้.. ไม่ใช่วิญญาณจอม ปลอมหลอกให้คนเชื่อเพื่อหากิน

ในความคิดส่วนตัวของผมเรื่อง การจะเข้าสัมผัสวิญญาณ อารมณ์แห่งยุคสมัย นอกจากอ่านหนังสือ ประวัติศาสตร์การเมือง  ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ  สังคมและศิลปวัฒนธรรมแล้ว

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ภาพจาก https://praphansarn.com/home/content/139

นิยายจะทำให้ “อิน” (in) กับมัน ดังในนิยายมหากาพย์ “สงครามและสันติภาพ” ของตอลสตอย ที่ตัวเอกอย่าง ปิแอร์ บุคคลที่แสวงหาความหมายของชีวิต สังคมชั้นสูงรัสเซียสมัยนั้นต้องพูดและเขียนภาษาฝรั่งเศสได้ ทำให้ ผมได้สัมผัสบางอย่างที่อยู่ระหว่างบรรทัดของสังคมรัสเซียและยุโรปได้.

หรือนิยายอื่นๆ การมีวงสนทนาที่จัดกันขึ้นตามบ้านผู้สูงศักดิ์ หรือสโมสร โรงละคร การแสดงดนตรีและอุปรากร กลุ่มวิจารณ์วรรณกรรม ร้านหนังสือ ร้านกาแฟ แหล่งพักฟื้นอาบน้ำแร่ ภัตตาคาร โรงเตี๊ยม โรงเบียร์ชาวบ้าน ทั้งหมดนี้ถ้าพูดแบบภาษา การแพร่ระบาด เราอาจจะเรียกว่ามีม (meme) เพราะพื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่งที่ผู้คน พูดจา แสดงความคิดความเห็นกัน รวมไปถึงการซึบซิบนินทา สร้างกระแสข่าวลือ

เหตุการณ์ทางการเมือง และกระแสความคิดทางการเมืองในฝรั่งเศสจึงมีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อประเทศ ต่างๆ ในยุโรป

เมื่อมีการอภิวัฒน์ฝรั่งเศส 1789 สร้างระบอบประชาธิปไตยและเป็นสาธารณรัฐ จึงเขย่าขวัญ สังคมราชาธิปไตยในยุโรปทั้งหมด

โดยเฉพาะราชวงศ์ ฮับส์เบิร์ก แห่งมหาอาณาจักรออสเตรียฮังการีที่ ปกครองดินแดนสลาฟทั้งมวล และมีอิทธิพลต่ออิตาลีภาคเหนือ เป็นมหาอำนาจแห่งอนุรักษ์นิยม อีกทั้งพระนางเจ้ามาเรียเทเรสซา สมเด็จพระราชินีแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่  16  เป็นราชธิดาแห่งราชวงศ์ฮับส์เบิร์ก

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

………………………….

ถึงแม้สายธารแห่งความรู้และภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่มีก่อนถึง  500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ดังที่  คาร์ล  ยาสเปอร์ นักปราชญ์ชาวเยอรมัน ขนานนามยุคนั้นว่า AchseZeit อังกฤษเรียก Axial Age (ยุคแห่งแก่นแกน ) ปราชญ์ผู้ ยิ่งใหญ่แห่งโลก  (คาดว่าไม่มีโอกาสได้พบปะและรู้เรื่องกัน  ยกเว้นบางประเทศที่เป็นศิษย์และพบกัน)  โสคราตีส เพลโต ที่กรีก เล่าจื๊อ ขงจื๊อ ในจีน และพระพุทธเจ้า มหาวีระ แห่งอินเดีย

ยุคแก่นแกน  เป็น  ดั่งต้นน้ำที่สายธารแห่งปัญญาสากลมาถึงวันนี้  และคาดว่าจะมีพลังไหลรินให้มนุษย์ผู้กระหาย ได้ดื่มกินเพื่อพ้นทุกข์.

ยุคศิลปวิทยาการหรือความรู้แจ้ง  ก็เอาภูมิปัญญากรีกมาต่อยอดให้สอดคล้องกับยุคสมัย. และนี่คือภาพเชิงสัญลักษณ์ มนุษย์สมัยศิลปวิทยาการ Renaissance Man หรือ อีกชื่อเรียกว่า Vitruvian Man

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ถ้าเราใส่ใจการขึ้นลงของกระแสความคิด กระแสวัฒนธรรม กระแสสังคมอันมีเรื่องแฟชั่น แต่งตัว การใช้ ชีวิต มารยาทสังคมล้วนมีห้วงเวลาที่มาเรื่อยๆ ราบเรียบ แล้วพุ่งสูง จากนั้นแผ่วลงจนค่อยๆ จางลง. ดังคลื่นใน ทะเล.

กระแสช่วงต้นของยุคโรแมนติกแล้วพุ่งสูงเกิดขึ้นในเยอรมันปี 1760 ถึง 1780 เรียกว่า Sturm und Drang อังกฤษเรียก Storm and Drive แปลพอได้ความว่า “พายุโหมและรุก” เป็นโรแมนติกแบบสุดๆ คิดอะไรทำอะไร ไม่ต้องบันยะบันยัง โดยมีนักปราชญ์ ชื่อ โยฮัน เกออร์ก ฮามัน (Johan Georg Hamann) เป็นผู้นำสำคัญ

แสดงออกในวรรณกรรม จิตรกรรม ดนตรีและละคร ฟรีดริช ชิลเลอร์( Friedrich Schiller ) และเกอเธ่ ก็เป็นผู้ สนับสนุนกระแส “Sturm und Drang” นี้ด้วย

วัยเยาว์ของนโปเลียนและเบโธเฟน น่าจะได้รับอิทธิพล “พายุโหมและรุกสู้” นี้ด้วย

เพราะเมื่อทั้งสองอัจฉริยะ  เมื่ออายุเข้าวัยหนุ่มฉกรรจ์ พลังที่ถูกบ่มด้วยหัวใจยุคโรแมนติกและสู่ฝันอันยิ่งใหญ่แห่งอุดมคติของวอลแตร์และรูโซจึงระเบิดออกมาใน เวลาที่ใกล้เคียงกัน แม้จะแสดงออกมาคนละด้าน

ถ้าเราใส่ใจการขึ้นลงของกระแสความคิด กระแสวัฒนธรรม กระแสสังคมอันมีเรื่องแฟชั่น แต่งตัว  การใช้ชีวิต มารยาทสังคมล้วนมีห้วงเวลาที่มาเรื่อยๆ ราบเรียบ แล้วพุ่งสูง จากนั้นแผ่วลงจนค่อยๆจางลง. ดังคลื่นในทะเล

กระแสช่วงต้นของยุคโรแมนติกแล้วพุ่งสูงเกิดขึ้นในเยอรมัน

ปี 1760 ถึง 1780 เรียกว่า Sturm und Drang อังกฤษเรียก Storm and Drive แปลพอได้ความว่า “พายุโหมและ รุก” เป็นโรแมนติกแบบสุดๆ เชิดชูบทบาทของปัจเจกชนผู้กล้าคิดกล้าทะลายกฎเกณฑ์ ปรารถนาจะทำอะไร ไม่ ต้องกังวล ถั่งโถมโหมไฟแรง ลุยเข้าไปรุกเข้าไป

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

หัวหอกของกระแส Sturm und Drang เป็นนักปราชญ์ ชื่อ โยฮัน เกออร์ก ฮามัน( Johan Georg Hamann) เป็นผู้นำสำคัญ แสดงออกในวรรณกรรม จิตรกรรม ดนตรีและละคร ฟรีดริช ชิลเลอร์ (Friedrich Schiller) และ เกอเธ่ ก็เป็นผู้สนับสนุนกระแส “Sturm und Drang” นี้ด้วย.

วัยเยาว์ของนโปเลียนและเบโธเฟนผู้เป็นนักอ่านน่าจะได้รับอิทธิพลของกระแสเชี่ยวกรากของ      “พายุโหม และรุก” นี้ด้วย เพราะเมื่อทั้งสองอัจฉริยะ เมื่ออายุย่างเข้าวัยหนุ่มฉกรรจ์. พลังที่ถูกบ่มด้วยหัวใจยุคโรแมนติกและสู่ฝันอันยิ่งใหญ่แห่งอุดมคติของวอลแตร์และรูโซ      ก่อตัวเป็น momentum   สร้างพลังระเบิดออกมาในเวลาที่ใกล้เคียงกัน.

แม้จะแสดงออกมาคนละด้าน ดังทักษะและความฝันแห่งชีวิตของแต่ละคน   ขณะที่นโปเลียนเป็นนักรบ ส่วน เบโธเฟน เป็นนักดนตรี

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ก่อนที่ผมจะเล่าถึงพลานุภาพแห่งวิญญาณของขบวนการโรแมนติกที่ส่งผลต่อชีวิตและงานของนโปเลีย นกับเบโธเฟน.

ขอเลยกรอบเวลาแห่งสองอัจฉริยะออกไปอีก ถึง ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) กวีหนุ่มรูปงามชาวอังกฤษ ผู้เกิด หลังนโปเลียนและเบโธเฟนประมาณ 20 ปี

จัดได้ว่า ไบรอนเป็นหนึ่งในผู้นำขบวนการโรแมนติก. ถึงแม้จะมี “เท้าปุก” แต่ไบรอนเป็นนักรักตัวฉกาจและอื้อ ฉาวในสังคมผู้ดีชั้นสูง  แม้ไบรอนจะคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด.  มีทรัพย์สมบัติจากบรรพบุรุษและหนังสือบทกวี ที่ตีพิมพ์ แต่การใช้ชีวิตแบบโลดโผนหลุดกรอบทำให้เขามีหนี้สินจำนวนมาก. ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งในหลาย สาเหตุที่เขาเนรเทศตนเองจากเกาะอังกฤษเมื่อปี   1816  ไปใช้ชีวิตพเนจรในต่างแดนอยู่พักใหญ่.

ด้วยวิญญาณของโรแมนติกและอุดมการณ์ ไบรอนอาสาร่วมรบสงครามกู้ชาติชาวกรีกที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและ เอกราชจากการปกครองของราชอาณาจักรออตโตมาน และเสียชีวิตในปี 1824 ชาวกรีก ได้ยกย่องให้ไบรอน เป็น “วีรบุรุษแห่งชาติกรีก” คนหนึ่งทีเดียว

ในบางบทความได้พูดถึงนโปเลียนมีอิทธิพลทางความคิดต่อไบรอนและเบโธเฟน  เพราะเขาเป็นบุคคลที่ชูธง เสรีภาพ   เสมอภาคและภราดรภาพ อันเป็นคำขวัญของการอภิวัฒน์ฝรั่งเศสที่ประทับใจปัญญาชนและคนหนุ่ม สาวสมัยนั้น

ด้วยพลังกระแสของศตวรรษที่ 19 สายธารแห่งชีวิตในอุดมคติมันถั่งท้นมาถึงต้นศตวรรษที่ 20 ทีเดียว

ครั้นผม ได้ดื่มด่ำกับภาพยนตร์เรื่อง Casablanca ครั้งแรก แล้วมานั่งครุ่นคิดถึง เนื้อเรื่องที่มี ฮัมฟรีย์ โบการ์ต และอิน กริด เบิร์กแมน แสดงนำ เป็นเรื่องของพระเอก “ริค” ผู้เสียสละ ก็ดี

หรือจากการอ่านนิยาย “แด่คาทาโลเนีย” ของ จอร์จ ออร์เวล กับ “ศึกสเปญ”ของ เฮมิงเวย์ ซึ่งทั้งสองนักประพันธ์นี้เข้าร่วมรบในสงครามกลางเมืองสเปน ค.ศ.1936-1939 โดยสังกัด กองพลน้อยนานาชาติ (International Brigade) ที่มีผู้อาสารบจาก 53 ชาติ กว่า 35,000 คน มีอาชีพตั้งแต่ ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน เช่น Arthur Koestler André Malraux Emma Goldman Gerda Taro กวี Pablo Neruda นักวิทยาศาสตร์ คนงาน นักบิน แม้ศิลปิน เช่น Pablo Picasso ก็ เข้าร่วมรบด้วย ดัวไบรอน อาสาไปรบที่กรีก เมื่อ 100 ปีก่อน.

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย(แม้จะไม่สังกัดกองพลน้อยนี้)  เธอก็เข้าร่วมแนวหน้าด้วยหัวใจอันฮึกเหิม  เพื่อสนับสนุน รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชน Popular Front

ดูใบหน้าของเธอทั้ง4 คนในภาพสิสตรีที่จะเข้าสงคราม

นี่คือ  “เส้นทางชีวิตแห่งวีรบุรุษวีรสตรี”  ผู้กล้าเดินตามความปีติแห่งหัวใจ.

แม้มันจะผ่านมาแล้วนานแสนนาน   ตั้งแต่ผมยังไม่เกิด แต่วิญญาณนี้ยังสถิตย์อยู่และขอโอบกอดด้วยความสุข ไม่ว่าพายุจะโหมแรงเพียงใดก็ตาม   กอไผ่อย่างพวกเราจะยังไม่โค่นลงได้..

.

ทุกวันนี้ ในยุคสมัยแห่งโซเชี่ยลมีเดียและกระแสบันเทิงที่ถูกโปรโมทโดยกลุ่มธุรกิจ ที่สร้างกระแส “ไอดอล” (Idol) ของวัยรุ่นผู้มีกำลังซื้อ (เงินของพ่อแม่)

… “ไอดอล” เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 “วิญญาณแห่งกาลเวลา” สมัยโรแมนติกและสังคมอุดมคติเป็นเรื่องเกิด ขึ้นจริง เหตุการณ์จริง (แน่นอนพอเล่ากันไปปากต่อปาก ก็มีการเติมสีสันลงไปบ้างให้มีรสชาติ)   มักเป็นข่าวสาร ข้อมูลที่ผู้คนกำลังใจจดใจจ่อ ไม่มีใครจ้างให้ปั่นกระแส หรือช่วยโดย algorithm มักมาจากข่าวสารในหน้า หนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารรายสัปดาห์ที่นักศึกษา  ปัญญาชนและผู้คนที่อ่านออกเขียนได้  แล้วนำมาเป็น หัวข้อสนทนาในร้านกาแฟ วงวิจารณ์วรรณกรรม วงซาลอง (ชนชั้นสูง ดังในนิยาย “สงครามและสันติภาพ” และ “แอนนา คาเรนนินา” ของตอลสตอย พรรณาอย่างมีชีวิตชีวา) ภัตตาคาร โรงเตี๊ยม และในแวดวงมหาวิทยาลัย.

ไอดอล   ยุคนั้นจึงเป็นความห้าวหาญของวีรบุรุษที่สามารถปฏิบัติการที่เกินกว่ามนุษย์ธรรมดาจะทำได้

ท่ามกลางกลิ่นอายแห่งการดิ้นรนต่อสู้กับสังคมที่ไม่เป็นธรรม และระบอบการปกครองราชาธิปไตย ซึ่งยุค นั้นจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ออสเตรียเป็นมหาอำนาจใหญ่ในยุโรปได้รับการสนับสนุนจากสันตปาปาและ วาติกัน มีดินแดนในปกครองกว้างขวางบางส่วนในฮอลแลนด์ ภาคเหนืออิตาลีที่มี มิลานเป็นเมืองหลวง

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

การอภิวัฒน์ฝรั่งเศส  ค.ศ. 1789  จึงเป็นแผ่นดินไหวทางการเมืองเขย่าผู้ปกครองอนุรักษ์และราชาธิปไตยใน ยุโรปอย่างรุนแรงถึงราก

นายพลหนุ่มวัย 26 ปี จากเกาะคอร์สิก้า นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้รับมอบหมายให้นำกองทัพประชาชนชูธง อภิวัฒน์ขับไล่ กองทัพออสเตรียนออกไป. (เนื่องจาก ออสเตรียยิ่งใหญ่มากว่าร้อยปี จึงมีชาติยุโรปตะวันออกนับ สิบชาติใต้การปกครอง.   กองทัพแม้จะมีจำนวนพลรบมาก   แต่ที่เป็นชาวออสเตรียนผู้รักชาติและจงรักภักดีองค์ จักรพรรดิ์จริงๆ มีไม่มากเท่าใด)

กองทัพออสเตรียนที่มีไพร่พลจำนวนมาก  นายพลเลือดสีน้ำเงินแห่งราชวงศ์ผู้มีประสบการณ์โชกโชน.  ครั้น เผชิญหน้ากับทหารพลเมืองฝรั่งเศสผู้ชูธงอุดมการณ์ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ และนายพลหนุ่มห้าว กองทัพออสเตรียพ่ายแพ้ทุกการยุทธ

เพราะนโปเลียน ผู้จบวิชาทหารปืนใหญ่ แม่นยำในการคำนวณยิง ยืน เคียงข้างทหารในแนวหน้าเสมอ พูดกันมาต่อๆ ว่านโปเลียน ยืนข้างปืนใหญ่เสมอ ใช้กล้องส่องทางไกล สั่ง บรรจุกระสุนปืนใหญ่ สั่งยิงด้วยตนเอง แล้วส่องกล้องดูผลการยิง ปรับมุมองศาปืนใหญ่. แล้วยิงใหม่ ยิง แม่นยำขึ้น

จนทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศสเป็นที่เลื่องลือในอานุภาพการยิง

บ่อยครั้งที่เขม่าดินปืนเปื้อนหน้านโป เลียนในการรบ. แล้วเขาก็มักนอนกลางแจ้ง กินข้าวร่วมกับทหารเมื่อพักตั้งค่าย เขามีภาวะผู้นำสูงยิ่ง นโปเลียน ต้องการให้ทหารตั้งแต่ระดับนายพลไปจนถึงพลทหารมั่นใจว่า  พวกเขานั้นมีผู้นำที่มีสมรรถภาพยิ่ง    ไม่ต้องหวั่น เกรงสิ่งใด ทหารชั้นล่างจึงรักและบูชานายพลหนุ่มมาก แม้จะเป็นชายร่างเล็กสูงราว 156 เซนติเมตร แต่ความ สามารถยิ่งใหญ่เกินคน

ทหารเรียกนายพลหนุ่มด้วยความรักว่า “Le Petite Corporal (เลอ เปติต์ คอโปราล) “สิบโทน้อย”

ขณะที่นายพลและเสนาธิการกองทัพออสเตรีย ทัพเปียดมองต์ และปรัสเซีย ล้วนวางแผนยุทธการในแนว หลัง บ่อยครั้งสั่งบัญชา การรบ ห่างออกไป 2-3 กิโลเมตร ในคฤหาสน์ หรือวังหรูหรา ยืนดูแผนที่ หรือชัยภูมิ จำลองบนโมเดลกองทราย ให้ม้าเร็วรายงานสถานการณ์ และนำคำสั่งปรับยุทธวิธีรบ. ขณะที่นโปเลียนยืนใน สนามจริงเผชิญกระสุนจริง เป็น real time battle ดังนั้น นโปเลียนจับชีพจร. อารมณ์ ความรู้สึก ความกลัวที่จะ ปฏิตามคำสั่ง หรือสัมผัสบรรยากาศความฮึกเหิมของทหารที่ยอมทุ่มเทเกินร้อย

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ทำให้นายพลชาวปรัสเซียน ชื่อ พลตรี คาร์ล ฟอน เคลาส์วิตส์ (Carl von Clausewitz) ศึกษาวิธีการรบของ นโปเลียน และยกย่อง ว่าเป็น “เทพสงคราม” หนังสือเล่มนี้ ชื่อภาษาเยอรมัน Vom Krieg หรือ อังกฤษ On War (ว่าด้วยสงคราม)

เป็นหนังสือที่มีการศึกษาควบคู่ไปกับ ตำราศิลปะแห่งสงคราม ของ ซุนจื่อ (The Art of War)

มีการเล่าว่า  ช่วงที่เลนิน  เดินทางด้วยขบวนรถไฟจาก  สวิสเซอร์แลนด์  ผ่านเยอรมันในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่ 1 เพื่อไปนำการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิค เมื้อ ค.ศ.1919 เลนิน พกหนังสือ Vom Krieg ไปอ่านระหว่าง เดินทาง.   (กองทัพเยอรมัน ยินดีให้รถไฟขบวนที่เลนินโดยสารผ่านไป. เพราะหวังว่าจะไปทำการต่อสู้ รบกันเอง ในอาณาจักรรัสเซีย เพื่อบั่นทอน ความเข้มแข็งของพันธมิตรไปในตัว)

คงต้องกล่าวถึง นโปเลียน โบนาปาร์ต “สิบโทน้อย” Le Petite Corporal กันอีกครั้ง เพราะวีรกรรมอันห้าวหาญ ของเขามีอิทธิพลต่อเบโธเฟนมาก (แม้ในปัจจุบันมีการให้ข้อมูลแก้ไขว่า   นโปเลียน สูงถึง 168 ซม.ก็ตาม)

นโปเลียน นอกจากเก่งวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เขาชอบอ่านประวัติศาสตร์สงคราม ที่ผ่านมานับพันปี มีการ ยุทธครั้งสำคัญๆ ของวีรบุรุษในดวงใจของเขา เช่น ลีโอนิดาส ที่ 1 แห่งสปาร์ต้า. อเล็กซานเดอร์มหาราช ฮันนิ บาล จูเลียส ซีซาร์ ที่เขาซึมซับไว้ในลิ้นชักสมองของเขา เมื่อครั้งอยู่ในสนามรบสถานการณ์แพ้ชนะยังก้ำกึ่ง ด้วยสภาวะจิตที่มั่นคงเยือกเย็นและอยู่ในปัจจุบันขณะของเขา Power of Now ดัง Eckhart Tolle เขียน สำแดง ศักยภาพออกมา แว่บหนึ่งนโปเลียนนึกถึงการยุทธแห่งขุนพลในดวงใจได้ใช้เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน เขา “ปิ๊งแว่บ” ขึ้นมาแล้วประยุกต์ใช้ทันที (เคยให้ดูปกหนังสือ Napoleon’s Glance มาแล้วเมื่อ 2-3 เดือนก่อน)

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

เมื่อนโปเลียนนำทัพบุกมาถึงอิตาลีภาคเหนือต้นเดือนพฤษภาคม   1796   พิชิตกองทัพเปียดมองต์มาจนถึง เมืองเล็กๆชื่อ โลดิ (Lodi) ตอนใต้มิลานเล็กน้อย จะยึดมิลานเมืองหลวงแคว้นลอมบาร์ดีได้ ต้องข้ามสะพาน ไม้ยาว แห่งแม่น้ำ อัดด้า (Adda) ฝั่งตรงข้ามมีกองทัพออสเตรียพร้อมปืนใหญ่ตั้งอยู่ที่ตีนสะพานฝั่งตรงข้าม. นายพลฝรั่งเศสหลายคนพูดว่า “การบุกข้ามสะพานยึดเมืองนี้ เป็นความบ้าบิ่นบัดซบ”…

นโปเลียนสั่งให้ทหารม้าไปสำรวจหาพื้นที่ที่น้ำตื้นพอให้ทหารม้ายกกำลังข้ามไปได้   แล้วนัดแนะเวลาโอบ โจมตีทางปีก

ก่อนอื่นนโปเลียนบัญชาการระดมยิงปืนใหญ่กองทัพออสเตรียนและไพร่พลชาวโครเอเชีย จนปืนใหญ่ฝั่ง ตรงข้ามเงียบเสียง

ท่ามกลางเสียงตีกลองเล็กให้จังหวะและเสียงขลุ่ยผิว ปลุกเร้าหัวใจทหาร พร้อมร้องเพลงมาร์ช “ลา มาร์ แซแยซ” La Marseilles และเพลง” วีรบุรุษพลีชีพเพื่อเสรีภาพ “Heroes Dying For Liberty” ท่ามกลางเสียง กลอง เสียงขลุ่ยและเพลงกระหึ่มเร้าใจเคล้าระงมด้วยเสียงปืนเล็กยาว.

นโปเลียนขี่ม้าขาวนำหน้าทหารข้ามสะพานบุกชาร์จโจมตี.     ทหารโครเอเชียและออสเตรียแตกกระเจิง

วีรกรรมอันบ้าบิ่นของนายพลหนุ่มได้รับการกล่าวขวัญในแวดวงต่างๆ     ในยุโรปจนถึงชนชั้นสูงในรัสเซีย

เบโธเฟน ณ ห้วงเวลานั้นเดินทางจากกรุงเวียนนา ปราก ถึงเบอร์ลิน. ย่อมได้ยินได้ฟังเรื่อง ห้าวหาญของ

“เทพสงคราม”

ในหนังสือชีวประวัติบางเล่มอ้างว่า เมื่อนโปเลียน กล้าระห่ำยึดเมืองโลดิ ได้ เขาได้รำพึงกับตนเอง.. “การ ข้ามความตายพิชิตชัยได้ครั้งนี้.  ข้าฯ เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้แน่นอน”

เบโธเฟน. แม้จะอยู่ห่างไกลจากสนามรบออกไปหลายร้อยกิโลเมตร แต่ก็ได้รับพลังบันดาลใจจากพลังมุ่ง

มั่นของนโปเลียน

“นโปเลียนสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในการสงครามได้. ข้าฯ ก็ย่อมสร้างสรรค์ความยิ่งใหญ่ทางดนตรีได้ เช่นกัน”

.

เพลงซิมโฟนี “อีโรอิคา” Eroica

The most staggering novelty in the history of music.

“มันเป็นการเปลี่ยนผันของความแปลกใหม่แห่งประวัติศาสตร์ดนตรี”

คือพาดหัวฮันส์ กาล (Hans Gal) ในหนังสือ The Golden Age of Vienna เมื่อเขาพูดถึง Eroica

เบโธเฟน เวลานั้นมีชีวิตที่ไม่ง่ายเลย เขาคือผู้ชื่นชมยกย่องสังคมใหม่ที่มนุษย์สมควรได้รับ. แต่ขณะเดียวกัน ต้องดำรงชีพในกรุงเวียนนาศูนย์อำนาจแห่งราชาธิปไตย      กระแสความความคิดก้าวหน้าของฝรั่งเศสที่นโปเลียน ได้สำแดง. ต้นปี คศ.1802 เขาเริ่มร่างดนตรีที่สะท้อนวิญญาณแห่งยุคสมัย Eroica ปีนั้นหูของเขาเริ่มเสื่อมใน การได้ยิน. เขารู้แล้วว่าต่อไปเขาจะเป็นคนหูหนวก. เขาเศร้าทรุด. บางครั้งถึงคิดเรื่องฆ่าตัวตาย. แต่วิญญาณ ของนักสู้ทำให้เขาฮึดขึ้นใหม่.    ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่โชคชะตาที่กลั่นแกล้ง.

การประพันธ์เพลง Eroica มันเป็นงานดนตรีที่ท้าทายมาก มันยาวกว่า 45 นาที เขาใช้เวลากับมันมากถึง กับยอมเช่ากระท่อมอยู่นอกกรุงเวียนนาเพื่อเพลงนี้      การที่เขาได้ดูดซับพลังงานอภิวัฒน์และความห้าวหาญของน โปเลียน เบโธเฟนปรารถนาให้ดนตรีของเขาสำแดงพลวัตถึงที่สุด เป็น “วิถีทางใหม่”

อันโทน ชินเลอร์ (AntonSchindler) เพื่อนของเขาบอกว่า “นโปเลียนเป็นไอดอลของ เบโธเฟน. มันเป็น คำมั่นสัญญาแห่งยุคใหม่. วิญญาณแห่งโลกได้เกิดใหม่แล้ว”…เขาประพันธ์เพลงนี้อุทิศให้นโปเลียน

เจตจำนงของเบโธเฟน   นั้นต้องการให้ผู้ฟังสัมผัสคุณค่าอันลึกซึ้งยิ่งกว่าเสียงดนตรี   มีนักวิจารณ์เขียนไว้ เบโธเฟนสานสามระดับแห่งความหมายให้พันกันเป็นเกลียว the mythic, the personal and the historical พลังลี้ลับแห่งเทพปกรณัม บุคคล และประวัติศาสตร์.

ดังที่เล่ามาในตอนก่อน ศตวรรษที่ 19 ได้ซึมซ่านด้วยกลิ่นอายแห่งบูชาวีรบุรุษ (ดูไบรอน) ชื่อเดิม ของ ซิมโฟนีหมายเลข 3 Eroica นี่ คือ Heroic วีรบุรุษ

เบโธเฟน ชื่นชมหลักการอภิวัฒน์ฝรั่งเศสเป็นที่ยิ่ง  ทีแรกเขาตั้งชื่องานชิ้นนี้ว่า Bonaparte แต่ เมื่อปี 1804 งานประพันธ์เสร็จสมบูรณ์แสดงได้แล้ว เมื่อเขาได้ข่าวว่า.    นโปเลียนได้ทำพิธีสวมมงกุฎเป็นพระจักรพร รดิ์ เบโธเฟน  ผิดหวังโกรธจัดถึงกับฉีกแผ่นแรกของโน้ตดนตรี ที่มีชื่อ โบนาปาร์ต ทิ้ง. ซิมโฟนีหมายเลข 3 ของ เบโธเฟนจึงเป็นที่รู้จักในนาม Eroica ถึงวันนี้

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

อุปรากร Fidelio

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

„The love of freedom is a flower of the dungeon“ Heinrich Heine

“ความรักอิสรภาพคือดอกไม้ในคุกมืดใต้ดิน”

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

“There is a point in Leonore’s famous aria when,after the prayerlike slow section, the French horns come in as if sounding an invocation. At that moment I wanted to seize a banner and lead regiment, to break through iron bars,to liberate prisoners in the name of freedom and the human spirit. In all magic of music and stage no call reverberates with such pure echo.”

“ถึงจุดที่ลีโอนอร์ร้อง aria อันโด่งดัง หลังเสียงดุจสวดมนต์ได้จบลง แตรฮอร์นฝรั่งเศสกังวานปลุกใจ ณ วินาที นั้นฉันใคร่โลดขึ้นในนามเสรีภาพและวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ คว้าผืนธงนำหน้ากองทหารบุกทะลายกรง เหล็กที่คุมขังนักโทษ ในความมหัศจรรย์ทั้งมวลของดนตรีและการแสดง ไม่มีเสียงก้องกังวานใดที่หมดจด งดงามกว่านี้อีกแล้ว”

คำยกย่องอุปรากรชิ้นนี้ชิ้นเดียวของ เบโธเฟน ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Leonore จัดอยู่ใน “ประเภทอุปรากรช่วยพ้นอันตราย” (genre a rescue opera) อุปรากรประเภทนี้เป็นสมัยนิยมแห่งศตวรรษที่ 18 และ 19

อยากให้เราลองจินตนาการพาตนเองไปอยู่ในยุโรปหลังยุคแสงสว่างแห่งปัญญาผ่านไปกว่า 200 ปี พลัง ดิ้นรนใฝ่ฝันสร้างสรรค์ปั้นแต่งสังคมอุดมคติที่มนุษย์ดำรงชีวิตที่มีเสรีภาพและอยู่ดีมีสุขพร้อมความยุติธรรมจึง ยังมีไฟคุกรุ่นไม่แผ่วลง

สภาพความเป็นจริงในระบอบราชาธิปไตยเวลานั้น ผู้ที่ดิ้นรนเรียกร้องเสรีภาพและความเท่าเทียมมักจบลง ด้วยการถูกลงโทษทัณฑ์ บ่อยครั้งนักโทษถูกจับปราศจากข้อหาทางกฎหมายและการไต่สวน

คุกมืดใต้ดินมันมิใช่เพียงแค่ สถานที่มืดอับ มีเครื่องมือบีบคั้นลงทัณฑ์ทั้งกายและใจเท่านั้น. แต่มันเป็น สัญลักษณ์ทางวิญญาณและคุณค่าแห่งมนุษย์ด้วย.

เมื่อการต่อสู้ด้วยการเคลื่อนไหวการเมืองบนถนนทำได้ยากและเป็นอันตรายวรรณกรรมและการแสดงจึงเป็น พื้นที่และเครื่องมือสื่อสารสะท้อนอารมณ์และความคิดที่จับใจผู้คน

เบโธเฟนผู้มีหัวใจให้กับการอภิวัฒน์ย่อมซึ้งใจดี

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ขอเล่าเรื่องย่อ อุปรากร ฟิเดลิโอ( Fidelio) สักหน่อย เพื่อจินตนาการ rescue opera อันเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้มี การศึกษาสมัยปลายศตวรรษที่18  ต้นศตวรรษที่  19  ซึ่งกระแสคุกรุ่นทางการเมืองและสังคมไม่พอใจการกดขี่ ทางเสรีภาพและความไม่เท่าเทียมที่เสมือนหมอกเมฆปกคลุมแสงฉานแห่งดวงสุริยา

ฌอง นิโคลัส บูลลีย์ (Jean Nicolus Bouilly) นักเขียนบทละครชาวฝรั่งเศสแต่งเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยแรงบันดาล ใจจากหญิงคนหนึ่งปลอมตัวเป็นผู้ชายไปช่วยสามีของเธอจากคุกบาสตีลย์อันเป็นที่คุมขังนักโทษการเมือง       โจ เซฟ ซอนน์ไลท์เนอร์  (Joseph Sonnleitner) ได้ดัดแปลงเป็นภาษาเยอรมัน เมื่อเบโธเฟนได้อ่านแล้วประทับ ใจ. เพราะหัวใจของเรื่องเป็นชัยชนะของธรรมะเหนืออธรรม เมื่อประพันธ์เป็นอุปรากร เบโธเฟน แต่งเป็น 3 องค์ แต่พอถึง ค.ศ.1805/6 เขากลับตัดเหลือ 2 องค์แต่มี ฉากโหมโรง (overture ) และใช้ชื่อเก่า ลีโอนอร์( Leonore) ตามบูลลีย์

…ในเรื่องเป็นฉากในคุกใต้ดินเสปน เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 ลีโอนอร์หรือ ลีโอนอรา แปลงกายเป็นชายหนุ่ม ชื่อ ฟิเดลิโอ(Fidelio) มาช่วย ฟลอเรสตาโน (Florestano) สามีของเธอนักหนังสือพิมพ์ปากกล้า เพราะ ดอน ปิ ซาร์โร (Don Pizarro) ผู้บัญชาการเรือนจำจอมโหดทรงอิทธิพล จับสามีขังคุกใต้ดินปราศจากการไต่สวน ฟิเดลิ โอทำงานเป็นลูกน้องผู้ช่วยของพัศดีรอคโค (Rocco) แต่มาร์เซลลิน (Marzelline) ลูกสาวรอคโค เกิดรักฟิเดลิ โอ ก็ต้องตกบันไดพลอยโจนให้สมบทบาทเพื่อช่วยสามีที่รักให้รอดตาย

วันหนึ่ง ดอน ปิซาร์โร ได้ข่าวว่า ดอน เฟอร์นันโด(Don Fernando)รัฐมนตรีผู้ได้ระแคะระคายความโหดร้าย ของเขาจะมาตรวจสภาพคุกมืด ดอน ปิซาร์โร เกรงว่าถ้า ฟลอเรสตาโน ได้เปิดปากเล่าความจริงให้ฟัง ดอน เฟอร์นันโดต้องลงโทษเขาเป็นแน่    จึงหาทางฆ่าปิดปากฟลอเรสติโนเสีย.    ลิโอนอร์จึงต้องเสี่ยงตายปรากฎตัว ออกมาช่วยสามีของเธอ.

เบโธเฟนต้องการเชิดชูจิตใจอันกล้าหาญของวีรสตรี   และประกาศชัยชนะแห่งความรักที่สมรส (Triumph of Married Love)

ผมจะเล่าบางฉาก บางตอน ของอุปรากรนี้ให้ฟัง เพื่อเราได้ประจักษ์ศิลปะ และสัญลักษณ์ว่ามีพลังการสื่อสาร เพียงใด

และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่คนทำงานเพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ ต้องใส่ใจต่อความละเมียดละไม และฝึกฝน ตนเองให้มีจิตประณีตละเอียดอ่อนหรือเปราะบาง.

สำหรับตัวเบโธเฟนเอง งานประพันธ์ ฟิเดลิโอ rescue opera คือ Eroica ที่พูดได้นั่นเอง มันเป็นการหลอมรวม การสมรสที่มิได้คำนึงถึงตนเอง ธาตุแห่งความกล้าหาญของสตรีพลีชีพเพื่อความรักผสานกับอุดมการณ์ของ บุรุษที่ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ

ลีโอนอร์ เป็นภาพฉายของวีรสตรีในอดีตที่ปรากฎกายขึ้นใหม่ ดังในนิยายที่ ฟรีดริช ชิลเลอร์เขียนไว้ ใน ยุโรปที่กลิ่นอายแห่งการอภิวัฒน์ลอยอยู่ทุกอณู เป็นห้วงเวลาที่น่าสนใจที่กลุ่มสตรีนักคิด นักประพันธ์และนัก กิจกรรมสังคมการเมืองมีบทบาท ดังเช่น Madame de Stael สตรีสูงศักดิ์ชาวปาริเซียง Rahel Levin ชาวยิว

แห่งกรุงเบอร์ลิน และ Fanny von Alstein นักจัดการซาลอง ผู้โด่งดังแห่งเวียนนา แล้วยังมีนักประพันธ์ดัง Bettina Brentano Madame Roland, Rahel Varnhagen von Ense และ Mary Wollstonecraft เป็นอาทิ (ถ้าอยากจะรู้ว่าเธอแต่ละคนเก่งอะไร ถามกูเกิ้ล ครับ)

ภาพโด่งดังชิ้นนี้ซึ่งประดับอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์แห่งปารีสบ่งชี้บทบาทของผู้หญิงแห่งยุคสมัยได้ดี

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ปี ค.ศ. 1814 เบโธเฟน ได้รับการอ้อนวอนจากนักร้องเพลงอุปรากรดังแห่งเวียนนา 3 คนให้ นำเอา Leonore ปี 1806 มาเล่นใหม่ ซึ่งเบโธเฟนไม่ค่อยอยากจะรื้อของเก่ามาปรับปรุงใหม่เท่าใดนัก และมันเป็นห้วงยามแห่ง ความหดหู่ทางการเมืองของกลุ่มคนหัวก้าวหน้าที่ปรารถนาจะเห็นสังคมอุดมคติเกิดขึ้นในยุโรป.     เพราะปีนั้นเป็น ช่วงที่ชาตะชีวิตจักรพรรดิ์นโปเลียนอับแสง.   การพ่ายแพ้ในการบุกรัสเซียเสียทหารฝรั่งเศสจำนวนมาก.   และ กลุ่มกษัตริย์แห่งยุโรปผนึกกำลังกันบีบ นโปเลียน จนต้องเนรเทศตนเองไปอยู่เกาะเอลบา

ฝ่ายราชาธิปไตยผงาด  จนกระทั่งลอร์ดไบรอน  แปลความผิดหวังออกมาเป็นบทกวีสรรเสริญนโปเลียน  Ode Napoleon Bonaparte

เบโธเฟนก็อยู่ในอารมณ์แบบนั้น เขาไม่อยากเห็น เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพต้องสูญสลาย มันต้องเดิน หน้าสู้ต่อไป..

เมื่อเขาตัดสินใจจะให้ rescue opera รักษาวิญญาณการต่อสู้ไม่ให้มอดดับ เขาจึงเสาะหาคนที่จะช่วยให้มัน สมบูรณ์แบบ เขาก็ได้ ทรัยช์เก้ (Treischke) นักเขียนบทละครฝีมือดีมาช่วย สร้าง Fidelio แต่เขาต้องทำงาน หนักมากเพื่อรื้อปรับใหม่หมดเลย

โอเปร่า ฟิเดลิโอ จึงเกิดขึ้นจากอารมณ์ของผู้ประพันธ์ที่มีปัญหาส่วนตัว คือหูเกือบหนวกสนิท ท่ามกลาง บรรยากาศหดหู่เศร้าใจของกลุ่มนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในยุโรป.     แต่ก็ยังไม่ยอมถอย.

ดังนั้น ฟีเดลิโอ จึงสะท้อนอารมณ์ที่พลวัตของสถานการณ์ไม่แน่นอน หดหู่ซึมเศร้าแทบสิ้นหวัง แต่ก็ฮึดสู้ด้วย ความรักและความหวัง

คุกมืดใต้ดินในยุคสมัยแห่งรอยต่อการเปลี่ยนผ่านสังคม (transformational time) แห่งศตวรรษที่18/19 มัน เป็นสถานที่แห่งอำนาจโหดร้ายจริง    และเป็นสัญญลักษณ์อุปมาอุปมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์    กับการอภิ วัฒน์ฝรั่งเศส. เพราะช่วง ค.ศ.1790 บรรดานักเคลื่อนไหวดังๆ หลายคนดังเช่น Madame Roland, Marquis de Sade, Tom Pain ชาวอังกฤษแต่ร่วมต่อสู้สงครามอิสรภาพอเมริกา และ Chenier ผู้ถูกจองจำจนตายในคุก มืด

เมื่อเริ่มองก์ 2 ในฟิเดลิโอ มีเสียงของ ฟลอเรสติโน “ โอ พระเจ้าทำไมจึงมืดมิดเช่นนี้” จากนั้นมีเสียงดนตรีให้ รู้สึกถึงความเจ็บปวดที่ทุเลาลง ฟลอเรสติโนก็ร้อง “ฤดูใบไม้ผลิแห่งชีวิต” (spring time of life) ยืนยันหนักแน่น ว่าความเชื่อมั่นในจริยธรรม เพราะข้าฯ กล้าเผชิญหน้ากับความชั่วร้ายของดอน ปิซาร์โร เมื่อ ปิซาร์โร ชักกริช

ออกมาหวังสังหารปิดปากฟลอเรสติโนที่ถูกล่ามโซ่  ลีโอนอร์ถลันออกมาปกป้องสามีตะโกนก้อง “ต้องฆ่าเมีย เขาเสียก่อน” แล้วชักปืนออกมา ดอน ปิซาร์โร ตะลึงงัน ที่เธอเป็นหญิงปลอมตัวมา.

เสียงทรัมเป็ตกังวาลแผ่วมาแต่ไกล เสียงแห่งความหวัง รัฐมนตรี ดอน เฟอร์นันโด ผู้ทรงยุติธรรมจะมาถึง. เสียงจากข้างบน (สัญลักษณ์เสียงพระเจ้า) Komm Hoffnung “พระเจ้า.. ความหวัง”….

ดอน เฟอร์นันโด สัญลักษณ์แห่งอำนาจที่มาทันการณ์ ประกาศว่า “เราพี่น้องกัน ต้องช่วยกัน. และอันใดที่ ข้าฯ ช่วยได้ ข้าฯ ยินดีกระทำ”. มันเป็นประโยคตอกย้ำ ภราดรภาพแห่งการอภิวัฒน์ฝรั่งเศส

เหล่านักโทษการเมืองทั้งปวงได้รับการปลดปล่อย ร่วมกันขับร้องประสานเสียง O welche Lust “โอ้ ความ ปีติสุข”..

การแสดงครั้งแรกเมื่อ 23 พฤษภาคม 1814ได้รับการต้อนรับล้นหลาม แต่หลังจากนั้นไม่ได้มากดังเดิม ตั้งแต่ กันยายน 1814 ถึง มิถุนายน 1815 มีการแสดง 21 ครั้ง

เบโธเฟน. ระยะหลังทางราชวงศ์ฮัปเสบิร์กไม่ปลื้มเขา. แต่ในยุโรปเขาโด่งดังมาก. แต่นโปเลียนไม่เคยฟัง ดนตรีของเบโธเฟน เลย.

มันน่าสนใจเรื่องการตีความของ rescue opera Fidelio ทางฝ่ายอนุรักษ์นิยมมองว่า ดอน ปิซาร์โร ตัวแทน แห่งความชั่วร้าย  หมายถึง  นโปเลียน  ขณะที่ฝ่ายหัวก้าวหน้าตีความไปอีกอย่างหนึ่ง.  ..

แอร์นส์ต บล็อค (Ernst Bloch) มาร์กซิสต์เยอรมันแห่งศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า “อุปรากรนี้ สร้างแรงบันดาล ใจให้แก่การบุกทะลายคุกบาสตีลย์”

โทมัส มันน์ (Thomas Mann) ชาวเยอรมันผู้ได้รับรางวัลโนเบิ้ล สาขาวรรณคดี  ขณะที่ลี้ภัยจากนาซีและฮิต เลอร์ อยู่ที่ลอส แองเจอลิส เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเขียนนิยายเล่มใหม่ Docter Faustus พูดว่า “มันมีช่วงเวลาที่เรา   เด็กแห่งคุกมืดใต้ดินได้ฝันถึงเพลงอันปีติสุข. Fidelio และซิมโฟนีหมายเลข 9 มอบความ รู้สึกนี้ให้.    มันเป็นเพลงฉลองการปลดปล่อยเยอรมัน  ให้มีอิสรภาพแห่งตน”

ซิมโฟนี หมายเลข 9

ในปี ค.ศ. 1812 เบโธเฟนอายุ 42 ปีแล้ว เขาได้ประพันธ์เพลง 3 ชิ้น ซิมโฟนีหมายเลข 7 และหมายเลข 8 สำเร็จค่อนข้างรวดเร็ว แต่เมื่อร่างหมายเลข 9 มันหาได้สะดวกดายไม่. เบโธเฟนรู้สึกว่ามันยังขาดอะไรไป. มัน ยังไม่ได้ดังใจปรารถนาสักที. เขาจึงวางไว้ก่อน ไปแต่งเพลงอื่นก่อน ปี 1816 และ 1818 เขาก็หันมาจับ ร่าง ซิมโฟนีหมายเลข 9 อีก.

…อยากให้มันเป็นงานอันดำรงยาวนานกว่าชีวิตของตน….

เรายังจำกลุ่มเคลื่อนไหวโรแมนติกสุดๆ ที่ขนานนามว่า Sturm und Drang (พายุโหมและรุก) กันได้ใช่ไหม? หนึ่งในจำนวนนั่น คือ ฟรีดริช ชิลเลอร์ Friedrich Schiller กวีและนักเขียนบทละคร ที่ยกย่องวีรบุรุษวีรสตรีที่ กล้าต่อสู้กับอธรรม เช่น เรื่อง “นักปล้น” (The Robbers) วิลเลี่ยม เทล (William Tale) ตำนานวีรบุรุษชาวสวิส.

เมื่อ เบโธเฟน อายุ 15 ปี เขาได้อ่านบทกวีสรรเสริญ Ode ของ ชิลเลอร์ รู้สึกดื่มดำกับภาษาถ้อยคำซึ่งตรา ตรึงใจเขามิรู้เลือน..

ครั้นเบโธเฟนได้แต่งเพลงและดนตรี  Missa solemnis  อันมีการขับร้องประสานเสียง และมีประสบการณ์ จากอุปรากรฟิเดลิโอ. ปี 1820 สิ่งที่สะสมอยู่ในห้วงสมองและหัวใจ เมื่อนำจินตนาการมาผนึกกับ Ode of Joy ซิมโฟนีหมายเลข  9    จึงได้ก่อรูปร่างขึ้นมา.  เบโธเฟนพูดว่า  “เมื่อธาตุต่างๆที่แท้ในตัวเขามากระทำปฏิกริยาต่อ กัน. . เมื่อพลังดนตรีสมรสกับพลังภาษา งานแห่งชีวิตของเขาซิมโฟนีหมายเลข 9 จึงได้กำเนิดขึ้น”

บทเพลงในวงเหล้า (drinking song) อันเป็นความรื่นเริง เป็นความสุขที่พลังภราดรภาพ ของชิลเลอร์ สมานกับความหวังแห่งอุดมการณ์แห่งการอภิวัฒน์ฝรั่งเศส

ช่วงท้ายเพลงหมายเลข 9 จึงมีสุ้มเสียงคึกคักของเพลงมาร์ชตุรกี เจือปนด้วยบรรยากาศ Oktoberfest

Negative capability

ขอตัดฉากหยุด เรื่องซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟน ไว้ชั่วคราว ..

เราลองมาใคร่ครวญ เรียนรู้ ลองจับ patterns บางอย่างดู เช่น นำเอา capacity to experience หรือ

experience of experiences ของปัจเจกบุคคลมาศึกษาดู

..เมื่อเราประสบปัญหาชีวิตส่วนตัว ดังเช่น เบโธเฟน หูหนวกเกือบสนิท เขารู้สึกเจ็บปวดไหม ที่ไม่ได้ยินเสียง เพลงที่เขาได้ประพันธ์  เขาเขียนโน้ตดนตรีลงไปด้วยจินตนาการล้วนๆ  แต่ไม่ได้ยินเสียงดนตรีว่ามันใช่ไหม?…. ส่วนความคาดหวังทางการเมืองเบโธเฟนก็ผิดหวังที่สุดที่ความปรารถนาจะเห็นเสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอ ภาคเป็นจริงในช่วงชีวิตเขา.  ได้หายไปดังอากาศธาตุ.  เมื่อนโปเลียนหมดอำนาจถูกเนรเทศไปไกล  ไม่มีวันได้ กลับคืน..

การฝึกภาวนาเรื่องประสบการณ์ คือ ดูโลกภายนอก สังคมภายนอก แล้วย้อนมาดูภายในตนเอง ถามความ รู้สึก อารมณ์ความคิดตนเอง ตระหนักมันสัมผัสมัน

..ทุกอย่างแย่ไปหมด   มันตรงข้ามที่เราต้องการทั้งสิ้น. เราลองเอาใจเราไปเป็นเบโธเฟนในสถานการณ์ยามนั้นดู..เป็นตัวเรา     เราจะรู้สึกอย่างไร?.

ผมขอเอาบางตอนมาลง

Negative capability was a phrase first use by Romantic poet John Jeatd in 1817 to characterize the capacity of the greatest writers( particularly Shakespeare ) to pursue a vision of artistic beauty even when it leads them into intellectual confusion and uncertainty as opposed to a preference for philosophical certainty over artistic beauty

John Keats in 1817

ขอแปลแบบง่ายๆ “สมรรถภาพลบ” คือวลีที่จอห์น คีตส์ (John Keats) นักกวีโรแมนติกนำมาใช้เมื่อ 1817 เพื่อพรรณาคุณสมบัติพิเศษนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่  (ดังเช่น  เช็คสเปียร์)  ที่เดินติดตามวิสัยทัศน์สุนทรียภาพแห่งศิลปะ ถึงแม้ว่ามันจะนำมาสู่ความสับสนทางปัญญาและความไม่แน่นอน   ที่สวนทางกับความเชื่อทางปรัชญา   ที่เน้น ความแน่นอนสำคัญกว่าความงามแห่งศิลป์

คนที่เอาเรื่อง negative capability มาคุยกับผม คือ อาดัม คาเฮน (Adam Kahane) ซึ่งเคยมาพูดและฝึก อบรมกระบวนการทำ Transformative Scenarios Planning เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน.

อาดัมเขาแปลกใจ ว่าทำไม คีตส์จึงเลือกใช้คำนี้ ผมเลยบอกว่า มันอาจจะใกล้เคียง เรื่อง ขันติบารมี (บาลี) หรือ กษานติปรมิตา (สันสกฤต) ไหม? เพราะมันหมายถึง ความสามารถในการอดทนอดกลั้นโดยจิตใจยังสงบ แจ่มใส หรือร่าเริงได้. ท่ามกลางความไม่แน่นอน ผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ และเจ็บปวดด้วย..

เราคุยกันเรื่องหนังสือ Hero’s with Thousand Faces ของ Joseph Campbell ที่วีรบุรุษวีรสตรีต้องอาบไฟ ผ่านเบ้าหลอม    พัฒนาคุณภาพคุณสมบัติภายในตน.   จนกว่าจะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้เพื่อนมนุษย์ได้.

ที่เอาเรื่อง เบโธเฟน สามารถสร้างงานยิ่งใหญ่เป็นอมตะได้ ดังปณิธาน ท่ามกลางความไม่สมหวังนั้น. น่าจะ เป็นบทเรียนสอนใจให้เราผู้มีอุดมการณ์อันงดงาม. ฝึกฝนตนเองให้ใส่ใจกับ capacity to experience มากๆ

ลองเอาบางตอนของ Ode of Joy ที่เบโธเฟนได้อ่านเมื่ออายุ 15 ปี และตราตรึงใจเขาจนถึงลมหายใจสุดท้าย

Joy, beautiful spark of the gods

โอ ความปีติ ประกายไฟอันงดงามแห่งพระผู้เป็นเจ้า

We enter drunk with fire

มะ มาดื่มกับไฟที่ลุกโชน

All people become brothers!

มนุษย์ทั้งผองล้วนพี่น้องกัน

When your gentle wing rets!

ณ ที่ปีกนุ่มนวลผ่อนพัก

Be embraced, millions !

โอบกอดมวลชนนับล้าน

This kiss to all the world !

จุมพิตนี้แด่โลก

เมื่อเกิดการอภิวัฒน์ฝรั่งเศส 1789 เขาอายุ 19 ปี ทั้งสองความรู้สึกนี้ได้สิงสถิตย์ในกายและวิญญาณของ เบโธเฟน บ่มเพาะรอเวลาที่ระเบิดออกมา

30 กว่าปี แห่งการรอคอยสังคมอุดมคติ  เมื่อคศ.1822 ในวัย 52 ปี ด้วยแรงบีบคั้นดำมืดทางการเมืองแห่ง ระบบสมบูรณาญาสิทธิ์กลับจุดประกาย อารมณ์ความรู้สึก จินตนาการและความเชี่ยวชาญทางดนตรีของเขา ตกผลึกจนกลั่นภาษาอันงดงามเร้าใจของ Odeให้เข้ากับวิญญาณอภิวัฒน์แห่งดนตรี ในท่อนสุดท้ายของ ซิมโฟนีหมายเลข 9

เวลานั้นการเซ็นเซอร์บทความหนังสือพิมพ์  การแสดงเข้มงวดมาก.  แม้กระทั่งเมื่อผู้ชมประทับใจสุดๆ  ลุกขึ้น

ยืนปรบมือให้. ก็ห้ามมิให้เกิน 3 ครั้ง.

ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้  เบโธเฟนผู้ปรารถนาจะดัดแปลงถ้อยคำของชิลเลอร์  จากคำว่า  Freude(Joy) ความปีติล้น มาเป็นคำว่า Freiheit (Freedom ) อิสรภาพ เขาไม่กล้าทำ. เพราะกลัวว่าจะถูกห้ามไม่ให้แสดง. ยอมให้คำว่า   อิสรภาพจำแลงกายอยู่ในคำว่า   “ปีติสุข”   (ผู้มีความสุขล้นย่อมมีอิสระหลุดพ้น)

.. 190 ปี ให้หลัง เลียวนาร์ด เบิร์นสไตน์ (Leonard Bernstein) วาทยากรชื่อก้องโลกชาวอเมริกันผู้เข้าถึง หัวใจและวิญญาณของเบโธเฟนได้ดี จึงทำให้วิญญาณของเบโธเฟนสมปรารถนา เขาให้นักร้องประสานเสียง ร้องคำว่า Freiheit แทนคำว่า Freude

..วันที่ 7 พฤษภาคม 1824 ที่โรงละคร อัม แคร์นทเนอร์ทอร์ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟน ได้แสดงครั้ง ปฐมฤกษ์ ได้รับการต้อนรับจากผู้ฟังอย่างล้นหลาม พวกเขาลุกขึ้นปรบมือโห่ร้องอึงคนึงถึง 5 ครั้ง จนอธิบดี ตำรวจแห่งกรุงเวียนนา อดรนทนไม่ได้ ลุกขึ้นตะโกน “เงียบ เงียบได้แล้ว”

เบโธเฟนซึ่งหันหลังให้ผู้ชมเพราะต้องกำกับเพลงหูหนวกสนิทไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น  คาโรลีเน  อุงเงอร์ (Caroline Unger) นักร้องสตรีเสียงต่ำที่สุด ต้องเดินมาจับตัวเบโธเฟนหันมาดูผู้ชม ที่โห่ร้องกึกก้อง โยนหมวก โยนผ้าเช็ดหน้าบนอากาศ  โบกมือไปมา  ให้เบโธเฟน  รู้ว่าพวกเขานับถือยกย่อง  ชื่นชมเพียงใด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากอ่าน บทกวีสรรเสริญปีติสุข เป็นภาษาเยอรมันและ ภาษาอังกฤษ คลิกอ่านจากลิงค์นี้ได้

https://en.wikipedia.org/wiki/Ode_to_Joy#Lyrics

ดนตรีของเบโธเฟน ได้ละทิ้งโครงสร้างดนตรีคลาสสิคแบบ ที่ฟังสบายๆ รื่นหู ดังที่ชนชั้นสูงชอบ เช่น Mozart และJoseph Hayden มาสู่พลังโรแมนติกบวกพลังอภิวัฒน์ที่มีเสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาคของมนุษย์ทุกคน   ดนตรีของเขาหลังจากที่เยโธเฟนเสียชีวิตแล้ว   ยังคงมีอิทธิพลต่อนักประพันธ์ดนตรีรุ่นหลังๆ

แต่ผมอยากให้เราได้รับรู้  มองเห็น  และรู้สึกถึงความปรารถนาอันแรงกล้าของเบโธเฟน  ที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ ยิ่งใหญ่กว่าตัวเขา โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อปลุกเร้าหัวใจและจินตนาการของมนุษย์ว่าแต่ละคนสามารถทำสิ่งที่ใหญ่ กว่าตนเป็นได้ ..

เคอร์รี่ แคนเดลิ (Kerry Candael) ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากซิมโฟนีหมายเลข 9 ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี “เดินตามหมายเลข 9” (Following the Ninth) เมื่อปี 2013/2014 ได้นำ footage เก่าๆ มาตัดต่อและสัมภาษณ์ บุคคลในเหตุการณ์ ซึ่งมีส่วนร่วมกับซิมโฟนีหมายเลข 9 แม้เวลาผ่านไป 190 ปี จากการแสดงครั้งแรกของ เบโธเฟน . ภาพยนตร์ของแคนเดลบอกเล่าถึงผลสะเทือนของหมายเลข 9 ต่อโลก

ดังกรณีกลุ่มผู้หญิงชิลีจำนวนมากรวมตัวกันฝึกซ้อมร้องเพลง ode to joy ในภาษาสเปนนิช( ผู้หญิงละตินเข้ม แข็งกล้าหาญเสมอ เพราะผู้ชาย สามี บุตร มักถูกจับเข้าคุกเป็นนักโทษการเมืองกันมานาน)

ค.ศ.1973 นายพล ปิโนเชต์  เผด็จการทหารที่โหดเหี้ยมสังหารนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายนับหมื่นคน  จับผู้คนนับแสนเข้าคุก.ฃ สำหรับผู้โชคดีก็ลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศนับแสนคน มันเป็นห้วงเวลาที่น่าสะพรึงกลัวสุดๆ กลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ได้มาร่วมกันนอกเรือนจำ ร้องเพลง ode to joy ให้เหล่านักโทษมีความหวังและกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปไม่ต้อง หวาดหวั่น

ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1989 นักศึกษาจีนชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตยที่จตุรัส เทียนอันเหมิน ระหว่างการชุมนุม พวกเขาก็เปิดซิมโฟนีหมายเลข 9 ผ่านลำโพงในมุมต่างๆ แบบสุดเสียง ให้กำลังใจผู้มาชุมนุมกัน

เดือนธันวาคม  1989  หลังจากกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งประเทศเยอรมันออกจากกันได้ถูกรื้อด้วยน้ำมือประชาชนเอง

เลียวนาร์ด เบิร์นสไตน์ ผู้เป็นวาทยากรกำกับการแสดงซิมโฟนี ทั้งในฝั่งเบอร์ลินตะวันตกและ ตะวันออก เขาก็เชิญนักดนตรี และผู้ขับร้องประสานเสียงจาก อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งเคยยึด ครองเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาร่วมแสดงดนตรีครั้งประวัติศาสตร์ของโลก

ด้วยความหวังว่าต่อไปนี้ โลกจะเป็นหนึ่งเดียวกัน. ด้วยความที่ เลียวนาร์ด รู้ซึ้งถึงก้นบึ้งของหัวใจเบโธเฟน เขาจึงให้เปลี่ยนคำร้อง จาก คำว่า Freude (ปีตีสุข) เป็นคำ Freiheit (อิสรภาพ) เขาสานความฝันของเบโธเฟน ให้เป็นจริง

พลังแห่งซิมโฟนีหมายเลข 9 หาได้มีแค่การประท้วงทางการเมืองไม่   แต่มันยังมีพลังแห่งการถักทอชีวิต สังคมประจำวันด้วย  …มันเกิดที่ญี่ปุ่น.

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

มันเกิดจากเมล็ดพันธุ์แห่งความบังเอิญ. ในห้วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นได้ประกาศตนเข้าข้างฝ่ายพันธมิตร รบกับเยอรมัน (สยามของเราด้วย) ทหารเยอรมัน 4,700 นาย ที่เมืองจีนถูกย้ายมาคุมขังตามค่ายนักโทษ สงครามที่ บันโตะ เมือง โตกุชิมา เกาะชิโกกุ

เชลยเยอรมันในยามว่าง ทุกค่ายก็จัดกิจกรรมกีฬา และดนตรี วัฒนธรรม แก้เหงา. แน่นอนพวกเขาฝึกซ้อม ซิมโฟนีหมายเลข 9 ด้วย. วันที่ 1 มิถุนายน 1918 วงออเคสตร้า เมืองโตกุชิมา กับนักร้องประสานเสียงที่เป็น เชลยเยอรมัน 80 นายได้ ร้อง ode to joy  ท่อนจบด้วย. มันเป็นการแสดงดนตรีที่ชาวญี่ปุ่นมีความสุขร่วมกับ เชลยศึก  .. “โอบกอดมวลชน”

ครั้นเชลยศึกเยอรมันได้ถูกส่งตัวกลับบ้านในปี  1920/21  ความสัมพันธ์อันแนบแน่นของชาวเมืองโตกุชิมา กับชาวเยอรมัน. จึงนำไปสู่ความลึกซึ้งของการแสดงดนตรีและซิมโฟนีหมายเลข 9 ของวงออเคสตร้า เมืองโตกุ ชิมาเอง. ไม่เพียงแต่เมล็ดพันธุ์ได้งอกงามที่โตกุชิมา. มันยังไปเติบโตงอกงามที่พื้นที่อื่นๆ ในญี่ปุ่น. อาจจะนับ ร้อยเมือง..

ทุกๆ วันสิ้นปีเก่าก่อนขึ้นปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นจะมาร่วมขับร้องประสานเสียงเพลง ode to joy  ในภาษาเยอรมัน. แล้วจึงยิงดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองรับปีใหม่กัน

เราต้องนึกภาพว่าการร้องเพลงแต่ละครั้งใช้เวลาราวๆ 2 ชั่วโมง ไม่ใช่แค่ผู้เล่นดนตรี แต่ญาติพี่น้อง เพื่อน สนิทล้วนมาพูดคุยให้กำลังใจ มาเชียร์ แต่ละแห่งก็นับหมื่นคนมาสังสันท์ รื่นเริง. การได้สานคลื่นเสียงที่เปล่ง จากกายจึงเป็นการรวมพลัง รวมสมาธิ เพื่อส่งความสุขให้ตนเองและผู้อื่น เป็นการ “โอบกอด และจุมพิตโลก”

…มันงดงามเพียงใด…เมื่อมีเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมและสังคมแบบนี้ปรากฎขึ้น โดยเราได้ร่วมสร้างให้มี ความหมายต่อจิตใจและวิญญาณอันลึกซึ้งบนแผ่นดินเกิดของเรา.   แผ่นดินที่เรารักและหวงแหน…

..มันมีเรื่องหนึ่ง สำคัญมากอยากให้ใส่ใจให้ดี  การสร้างวงนักร้องประสานเสียงยิ่งมีคนมากยิ่งสนุก. เมือง ต่างๆก็พยายามทำสถิติหานักร้องมาเพิ่มขึ้นทุกปี. และเราย่อมรู้ว่าส่วนมากเป็นนักร้องสมัครเล่น. มาด้วยใจรัก จริง. พวกเขาต้องมาซ้อมกันบ่อยๆ (ความแนบแน่นผูกพันของชุมชน และสังคมก็แข็งแรงเป็นเงาตามตัว

ไม่แปลกใจใช่ไหมทำไมชาวญี่ปุ่นสามัคคีร่วมมือกันดียามมีวิกฤต)

แต่ที่น่าสนใจ ..เด็ก คนหนุ่มสาว และผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่นที่มาร้องเพลง ต้องเข้าใจภาษาเยอรมันที่ร้องทุกคำ. หัวหน้าวงจะเป็นผู้แปล และอธิบาย เพื่อให้ผู้ขับร้องดื่มด่ำกับเนื้อเพลง. แล้วเปล่งให้มันออกมาจากวิญญาณ จากหัวใจและกาย….เพราะมนุษย์ปรารถนาจะดำรงชีวิตอย่างมีความหมาย ดัง วิคเตอร์ ฟรังเคิล เขียนหนังสือ Men search for Meaning by Victor Frankl.

(คราวหน้าผมจะมี Self Talk จากการ reflection ที่ตนเองได้จากการเขียน เรื่อง Beethoven : Relentless Revolutionary มาแลกเปลี่ยนกับน้องๆ ครับ… ใครจะ reflection แล้วส่งมาก่อนยิ่งดีมากๆ. ไม่อยากให้ผม พูด เล่าเขียนแต่ฝ่ายเดียว อยากให้ เป็นการ dialogue on line กัน ครับ)