สังคมสารสนเทศ

ผู้คนจำนวนไม่น้อย พอนึกถึงภาพของสังคมสารสนเทศก็จะเห็นภาพของเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ ไมโครชิพ โทรศัพท์มือถือ เครื่องรับส่งเอกสาร และเครื่องควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อีกสารพัด ภาพที่เห็นดังกล่าวเป็นเพียงบางส่วนของสังคมสารสนเทศเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง สังคมสารสนเทศเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างเช่นการก่อตัวหรือจัดตั้งสถาบันและองค์กร  รวมถึงความคิดและจิตใจของผู้คนในสังคมด้วย   นับตั้งแต่คลื่นคอนดราทีฟลูกที่หนึ่งถึงลูกที่สี่ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมอุตสาหกรรมคือการมุ่งค้นหาวัตถุดิบเพื่อนำมาแปรรูป สร้างสายพานลำเลียง ถนนหนทาง และเส้นทางการไหลลื่นของพลังงานให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมอุตสาหกรรมจะวางจุดเน้นหนักที่การผลิตเครื่องจักรเครื่องมือ ตลอดจนให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทั้งวัตถุและวัสดุภัณฑ์ ส่วนสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่เน้นการค้นหาและนำสิ่งที่ปรากฏเชิงสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประสิทธิผล เช่น ข่าวสารข้อมูล ถ้อยคำภาษา แฟ้มภาพ ดนตรี ความรู้ ความคิด ความสัมพันธ์ และยุทธศาสตร์ หากลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ จะเห็นภาพวิวัฒนาการของสังคมทั้งสองแตกต่างกัน  สังคมอุตสาหกรรมวางเข็มทิศไปที่การพัฒนาโครงสร้างการขนถ่ายสินค้า การลำเลียงวัตถุดิบและพลังงานให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด เช่น โรงงานถลุงเหล็กต้องสร้างอู่ไว้ใกล้ๆ กับแหล่งพลังงาน (ถ่านหิน) เพื่อให้การขนส่งวัตถุดิบมีระยะทางที่สั้นที่สุด โรงงานเคมีตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพื่อลดต้นทุนให้ต่ำ ในสังคมสารสนเทศ คุณลักษณะดังกล่าวไม่มีความหมายอีกต่อไป ด้วยธุรกิจสารสนเทศไม่สนใจเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบและพลังงาน แต่สนใจ “ความใกล้ชิด” กับลูกค้าทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์หรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลให้กระชับแน่นแฟ้นที่สุด ดังนั้น ปัจจัยชี้ขาดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมจึงอยู่ที่ความสามารถในการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์  คุณสมบัติสำคัญที่จะขาดเสียมิได้คือ ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ความสามารถในการคิดเชิงระบบ และความสามารถในการสื่อสาร […]

สังคมสารสนเทศ Read More »

“เดวิด” ศิลปะกับวิญญาณแห่งยุคสมัย

(1) จุดเริ่มต้นของยุคแสงสว่างแห่งปัญญา ขณะที่มองดูประติมากรรม เดวิด ผมก็นึกถึงบริบททางสังคมที่ก่อกำเนิดประติมากรรมชิ้นเอกนี้ แล้วเกิดคำถามว่า ไมเคิล แองเจโล ต้องการสื่ออะไรผ่านรูปสลักเดวิด ? ผมไปเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีอยู่หลายครั้ง ทุกครั้งผมจะแวะไปยืนดูรูปสลัก David จำลอง (แต่เหมือนตัวจริงที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์มากๆ) อันเป็นผลงานของไมเคิล แองเจโล อัครศิลปินยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) ร่วมสมัยกับดาร์วินชี่ ผู้วาดภาพโมนาลิซ่า และ มาเคียเวลลี่ ผู้ประพันธ์ The Prince ที่เป็นปรัชญาและวิถี การเมืองแบบอำนาจสุดๆ ขณะที่มองดูประติมากรรมเดวิด ผมก็นึกถึงบริบททางสังคมที่ก่อกำเนิดประติมากรรมชิ้นเอกนี้ แล้วเกิดคำถามว่า ไมเคิล แองเจโล ต้องการสื่ออะไรผ่านรูปสลักเดวิด? เมืองฟลอเรนซ์เป็นจุดเริ่มต้นของยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) หรือที่นักวิชาการไทยแปลว่า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (ค.ศ.1450-1600 ตรงกับช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราว พ.ศ. 1993-2093) เป็นยุคสมัยแห่งการบุกเบิกความรู้และความเจริญรุ่งเรืองด้านวัฒนธรรม  เป็นยุคแห่งการค้นพบโลกใหม่  อย่างที่โคลัมบัส เดินทางไปพบทวีปอเมริกาหรือ วาสโก้ เดอกามา แล่นเรืออ้อมแหลมกู้ดโฮป ทวีปแอฟริกา เพื่อบุกเบิกเส้นทางการค้าเครื่องเทศและสินค้าจากเอเชีย ก่อนหน้ายุคศิลปวิทยาการ เป็นยุคที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า

“เดวิด” ศิลปะกับวิญญาณแห่งยุคสมัย Read More »

"เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

“เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary)

ผมเพิ่งได้หนังสือเล่มใหม่ “เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary by John Clubbe) ตนเองเป็นคนชอบฟังเพลงของเบโธเฟน มากกว่านักประพันธ์เพลงคนอื่นใด โดยเฉพาะเพลงซิมโฟนี่หมายเลข 5  ผมชอบที่สุดฟังไม่เคยเบื่อ  บางครั้งก็เอาบางท่อนของเพลงยาวราว  7-8  นาที  มาเปิดให้ฟัง ตอนเช้าในกระบวนการ  เช็คอินในฝึกอบรม  เสียงกระแทกกระทั้นของเปียโน   “โชคชะตากำลังมาเคาะประตูบ้าน เราแล้ว”… แท่น แท่น แท้น แท้น… เบโธเฟน เกิดเดือนธันวาคม ค.ศ. 1770 ขณะที่นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิด เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1769 อ่อน กว่า1ปี  ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน ชีวิตผู้เขย่าโลกทั้งสองคนนี้ ได้ลืมตาดูโลกหลังการก่อกำเนิด ยุค Renaissance หรือ ยุคศิลปวิทยาการ 200 ปี. สายใยวิถีคิดของนักปรัชญา กระแส การเมือง สังคม

“เบโธเฟน ผู้อภิวัฒน์ที่ไม่ย่อท้อ” (Beethoven : The Relentless Revolutionary) Read More »

ทฤษฎีไร้ระเบียบ

เมื่อโลกไร้ระเบียบ และ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

ที่มา : นิตยสาร Esquire May 2008 Text : Wilairat Photo : Suwat …   เรื่องมันมีอยู่ว่า บังเอิญมีคนเอา กล่องมาม่าใส่เงินจำนวนมากมาวางไว้หน้าห้องเลขที่ 66 ซึ่งบังเอิญว่า เลข 6 ตัวหลังหลุดห้อยลงมากลาย เป็นเลข 9    หญิงสาวในห้องเลขที่ 66ซึ่งบังเอิญว่าตกงานและไม่มีเงินเลยเอาเงินในกล่องนั้นมาเก็บไว้โดยหารู้ไม่ว่า กล่องมาม่านั้นบังเอิญเป็นกล่องเงินของแก๊งค์มิจฉาชีพ ต่อจากนันก็เกิดการตามล่าหากล่องเงินอย่างดุเดือดเลือดพล่าน จนมีคนตายเพราะเรื่องนี้หลายรายอย่างไม่น่าเชื่อ…     อีกเรื่องมันมีอยู่ว่า ชายคนหนึ่งพบว่ามีสุนัขของเพื่อนบ้านมาไล่กัดเป็ดในฟาร์มตัวเองจนเป็ดตายไปหลายตัว เลยบันดาลโทสะ คว้าปืนเดินตรงไปเอาเรื่องกับเจ้าของสุนัข แต่ตกลงกันไม่ได้ เลยเอาปืนยิงเจ้าของสุนัขจนตายตามเป็ดของตัวเองไป… เรื่องแรกจากภาพยนตร์เรื่อง “เรื่องตลก 69” โดยผู้กำกับฯ เป็นเอก รัตนเรือง    เรื่องที่สอง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2551     เรื่องจริงและแต่งทั้งสองเรื่อง ล้วนเกิดมาจากเรื่องเล็กๆ

เมื่อโลกไร้ระเบียบ และ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว Read More »

ความฝันยามใกล้รุ่ง (dream scenario)

ความฝันยามใกล้รุ่ง ( Dream )

ความฝันยามใกล้รุ่ง (dream scenario)  วันหนึ่งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 เราเดินทางกับอาจารย์ชัยวัฒน์ไปร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะเพื่อความยั่งยืนที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่  ระหว่างนั่งพักสบาย ๆ ยามเช้า ทานอาหาร อาจารย์เล่าถึงความฝันช่วงหัวรุ่ง ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนหน้า https://youtu.be/hiZK4vrYfI4 อาจารย์ชัยวัฒน์เป็นนักฝัน … ฝันใฝ่สร้างสังคมที่ดีงาม  แต่ความฝันในยามหลับ (dream scenario) ของอาจารย์ชัยวัฒน์ ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยได้ยินจากอาจารย์  เราจึงฟังด้วยความตั้งใจ  ความฝันยามใกล้รุ่ง ของอาจารย์ทำเอาขนหัวลุก  ฝันลางบอกเหตุ หรือการอ่านแนวโน้ม  ไม่ว่าจะเป็นอะไร สิ่งที่เราว่าสำคัญและน่าสนใจ (ทำให้เราบันทึกคลิปนี้)    คือการวางใจ มุมมอง วิธีคิดของอาจารย์ที่มีต่อความฝันนั้น  เราว่ามันมีความหมายและเป็นประโยชน์  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  วิกฤตภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่เกินฝัน  มันรอปะทุอยู่เสมอ  เราวางใจอย่างไรในห้วงวิกฤต  ศักยภาพอะไรที่จะพาเราฝ่าวิกฤต  ในวิกฤตมีโอกาสอะไร และเราจะใช้มันอย่างไร  ลองฟังคลิปสนทนากับอาจารย์ชัยวัฒน์เรื่องความฝันยามใกล้รุ่ง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ชัยวัฒน์  เรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ 

ความฝันยามใกล้รุ่ง ( Dream ) Read More »

Aikido is philosophy in action

ฝึกไอคิโด้ แท้จริงแล้ว เป็น experiential learning หรือ learning by doing ดังเช่น อาชีพ ช่างไม้ อาชีพทำอาหารเป็น chef คือ ต้องมีทั้ง understanding philosophy and skills ( เทคนิค ทำเป็น จนเชี่ยวชาญ) เรียกได้ว่าเป็น Aikido is philosophy in action https://youtu.be/dDvjvFYAikM Aikido is philosophy in action  มันเป็นเรื่องมี awareness , focus and concentration of force alignment หลอมรวมหยิน/หยาง Learning Process (Aikido is philosophy in action) 1) ครูผู้สอน หรือ Sensei เรียก คู่ต่อสู้ มาสาธิต ทำให้ดู ก่อน 3/4 ครั้ง 2) อธิบายซ้ำ ให้เห็นทำให้ดูช้าๆ ประกอบ 3) ให้ผู้เรียนจับคู่ ฝึก ผลัดกัน 2/3 นาที

Aikido is philosophy in action Read More »

หนังสือน่าอ่านสำหรับผู้นำองค์กร

Belonging to the Universe 

บันทึกเมื่อ ตุลาคม 2566 หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ 1992 ซื้อมา 21 ปีแล้ว นำกลับมาอ่านใหม่ ทำให้ตระหนักว่า เมื่อก่อนนี้ เรามองหลายอย่างหยาบไป จิตละเอียดอ่อนไม่พอ เป็นหนังสือของ 3 ปราชญ์ dialogue กัน -Fritjof Capra พวกเรารู้จักกันดึ จากTao of Physics  -Brother David Steindl-Rast เป็นพระนิกาย Benedictine -Thomas Matus พระคาโธลิก  การสนทนาพยายามเชื่อมวิทยาศาสตร์กับศาสนา(คริสต์) เข้าด้วยกันจากมุมมองของนักฟิสิกส์และเทววิทยา หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ใน 5 หน้านี้ อันเป็นการเปรียบเทียบ กระบวนทัศน์เก่า และกระบวนทัศน์ใหม่  ทั้งในวิทยาศาสตร์ และ เทววิทยา สำหรับตนเอง เอากระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการเอามาใช้ กับ Systems Thinking พูดง่าย แต่ฝึกให้ ติดเนื้อติดตัว ต้อง ฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ละทิ้ง

Belonging to the Universe  Read More »

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร”

หนังสือ 2 เล่มนี้ สำหรับผม คือ “กัลยาณมิตร” 2 คน   “กัลยาณมิตร” แรก Who do we choose to be? “คุณเลือกเอาว่าจะเป็นใคร”? เป็นการกระตุ้นท้าทายการภาวนาลุ่มลึกของการค้นหา meaning of life (ความหมายของชีวิต) ของวิคเตอร์ แฟรงเกิล Viktor Frankl อันจะนำไปสู่การเข้าถึงศักยภาพสูงสุดในตนเอง (self actualization) ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมลำดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)  “กัลยาณมิตร” ถัดมา คือ The Tao of Powerในเล่มเกริ่นเรื่องตัวเราต้องเป็น Evolving Force เป็นการเอา เต๋ามาใช้กับชีวิต 4 มิติ 4 ระดับนั่นเอง ดังนั้นความเป็น มนุษย์ที่เราเลือก คือ การเดินทางเผชิญหน้ากับความท้าทายกับ VUCA and BANI World ขณะเดียวกับเดินทางพัฒนาภายใน หลายคนเรียกว่า IDG ( Inner Development Goal) นั่นเอง  พระกฤษณะสอนอรชุนว่า  Who Do You Choose to Be?  Small Self… หรือจะเลือก..  Higher Self, Bigger

หนังสือ คือ “กัลยาณมิตร” Read More »

Identity

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ – Identity ของตัวเรา

Who Am I? ผมจำได้ ว่ากลางปี 2511 ผมได้กลับมาเยี่ยมบ้าน จ.นครศรีธรรมราช หลังจากไป เรียนที่เยอรมันได้ 5 ปี ค่ำวันหนึ่งที่อำเภอทุ่งสง ไม่ไกลจากบ้านน้าชายที่ผมไปพัก มีคนจัดงานบุญแล้วจ้างหนังตะลุง มาเล่นเพื่อความบันเทิง.. แค่เสียงกลอง โหม่ง กรับ อันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีตะลุง ผมยืนฟัง ด้วยน้ำตาคลอเบ้า รู้สึกถึงแรงสะเทือนในหัวใจ บอกกับตนเอง“ นี่คือบ้านของเรา แผ่นดินของเรา” Sense of Belonging เป็นความผูกพัน ให้ความอบอุ่นหัวใจ ให้ความหมายกับชีวิต แต่น้อยคนจะ เข้าใจ เข้าถึงแล้วเอามาพัฒนาให้เป็นมรดกสืบต่อไป  ผมตระหนักชัดเรื่องคุณค่าของประวัติศาสตร์ รัก เคารพต่อประวัติศาสตร์ทุกท้องถิ่นไทย เพราะนี่ คือ สยามคือบ้านของเรา ฝรั่งหลายคนที่ได้เกิดที่สยาม ถือว่า สยามคือบ้านของเขาด้วย เกอเธ่ กล่าว“ สิ่งที่ล้ำค้าอันได้มาจากประวัติศาสตร์ คือ ความฮึกเหิมที่ปลุกเร้าใจ เรา” มันจะนำไปสู่ spiritual connection (ความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ)  และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราควรภาวนาก่อนทำงานใหญ่ เสมือนเราทำการภาวนาก่อนเข้าสงคราม  แต่เป็น“สงครามกับความเขลา ขาดพลังปัญญา ขาดพลังความเพียร และไม่กล้าก้าวข้าม ขอบเขตเดิม” ภาวนา อย่างจริงใจ

เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อัตลักษณ์ – Identity ของตัวเรา Read More »

คำถามและการสืบค้น (Inquiry)

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry) 

ทำไมต้องมี คำถามและการสืบค้น (Inquiry) ทำไมต้องมี การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry) โลกเปลี่ยนแปลงเพราะคำถาม อย่างเจ้าชายสิทธัตถะถามว่า “ทำไมชีวิตเป็นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร” แล้วด้วยคำถามดังกล่าว ท่านทุ่มเทชีวิตแสวงหาคำตอบเป็นเวลา 6 ปี เอาชีวิตเข้าแลก  นักวิจัยรางวัลโนเบิลใช้เวลา 10-20 ปีกว่าจะได้คำตอบ และบางครั้งก็ต้องแลกด้วยชีวิต อย่างมาดาม คูรี่ พยายามเข้าใจเรื่องรังสี จนพบอานุภาพรังสีเอ๊กซ์เรย์ แต่สิ่งที่เธอต้องแลกกับการค้นพบ ก็คือ เธอได้รับรังสีนั้นมากและป่วยเป็นมะเร็ง เสียชีวิตในที่สุด  ไอน์สไตน์ ตั้งคำถามว่า “ถ้าฉันขี่ลำแสง แล้ววิ่งด้วยความเร็วของแสง จักรวาลจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร” คำถามนี้นำไปสู่คำตอบที่เรียบง่าย คือ E= MC2 ซึ่งเป็นสมการที่เปลี่ยนโลกจนถึงทุกวันนี้  กุญแจของการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถาม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งในโลกสมัยใหม่ ที่ซับซ้อน ถามเพื่อสืบค้นร่วมกัน ถามเพื่อเปิดประเด็นและการสนทนา งานวิจัยดี ๆ มาจากคำถามที่ดี ๆ งานวิจัยสุดยอดมาจากคำถามสุดยอด  ในชีวิตของเรา เคยมีคำถามอะไรบ้างไหม ในโครงการของเรา มีคำถามอะไรสำคัญๆ

การถอดบทเรียน : คำถามและการสืบค้น (Inquiry)  Read More »